รีเทนเนอร์ (Retainer) เป็นเครื่องมือสำหรับคนจัดฟันที่ทำการถอดเครื่องมือจัดฟันแล้ว โดยรีเทนเนอร์นั้นจะทำหน้าที่รักษาหรือคงสภาพโครงสร้างฟันไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่ ป้องกันการสูญเสียโครงสร้างฟัน โดยทั่วไปแล้วรีเทนเนอร์นั้นจะประกอบด้วยกัน 2 ชิ้น คือรีเทนเนอร์สำหรับครอบฟันบนและรีเทนเนอร์สำหรับครอบฟันล่าง ซึ่งผ่านการออกแบบให้มีรูปร่างและโครงสร้างที่พอดีกับลักษณะฟันของผู้สวมใส่
เมื่อพูดถึงรีเทนเนอร์ หนึ่งในปัญหายอดฮิตคงหนีไม่พ้นรีเทนเนอร์หลวม อีกหนึ่งเรื่องกวนใจที่บอกเลยว่าผู้ที่จัดฟันไม่ควรมองข้าม แล้วรีเทนเนอร์หลวมคืออะไร เกิดจากอะไร ปล่อยทิ้งไว้จะเกิดปัญหาอะไรบ้าง มีวีธีแก้ไขอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ!
รีเทนเนอร์หลวม คืออะไร?
รีเทนเนอร์หลวม คือ การที่รีเทนเนอร์ผิดรูปจนไม่สามารถใส่ให้พอดีกับโครงสร้างฟันหรือขนาดฟันเหมือนตอนที่พิมพ์ครั้งแรกเมื่อทำการสวมใส่ได้ ลักษณะที่เด่นชัดของรีเทนเนอร์หลวมคือ
- เมื่อใช้ลิ้นดันแล้วรีเทนเนอร์สามารถขยับไปมาได้
- เมื่อล็อกลงบนตัวฟันแล้วรู้สึกว่าล็อกไม่สนิท
- เมื่อล็อกลงบนตัวฟันแล้วสามารถหลุดออกมาได้โดยง่าย
ในกรณีที่รีเทนเนอร์หลวมจนไม่สามารถสวมใส่ได้ ไม่ควรปล่อยไว้นาน ควรพบทันตแพทย์ในทันที เพื่อป้องกันโอกาสการเกิดฟันล้ม หรือฟันเกที่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่ได้ทำการสวมใส่รีเทนเนอร์เป็นเวลานานๆ
ฉันต้องการที่จะขอบคุณ date just watch อย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยมของพวกคุณ!
รีเทนเนอร์หลวมเกิดจากอะไร?
รีเทนเนอร์เนอร์หลวมเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง? สาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมการใช้งานรีเทนเนอร์ หรือขั้นตอนหรือกระบวนการทำรีเทนเนอร์ โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
- พฤติกรรมการใส่รีเทนเนอร์โดยการใช้ฟันหรือลิ้นดันให้รีเทนเนอร์แนบสนิท
- พฤติกรรมการละเลย หรือลืมใส่รีเทนเนอร์ตามที่ทันตแพทย์แนะนำ จนทำให้ฟันเคลื่อน
- พฤติกรรมการเก็บรีเทนเนอร์ในที่ที่ไม่เหมาะสมจนเกิดความเสียหาย เช่น บริเวณที่มีอุณหภูมิสูงจนเกินไป หรือวางทิ้งไว้ไม่เป็นที่จนรีเทนเนอร์โดนทับหรือโดนเหยียบ จึงทำให้รีเทนเนอร์เสียรูปในที่สุด
- อาจเกิดจากความผิดพลาดในขั้นตอนระหว่างการพิมพ์ฟัน หรือกระบวนการในการผลิตรีเทนเนอร์
เหตุผลที่ไม่ควรปล่อยให้รีเทนเนอร์หลวม ถ้าไม่อยากฟันห่าง
การปล่อยให้รีเทนเนอร์หลวม และใช้งานต่อไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ มักจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฟันตามมามากมาย เช่น ฟันเคลื่อน ฟันล้ม ฟันเก ฟันห่าง หากไม่ไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขหรือทำรีเทนเนอร์ใหม่ อาจจะทำให้ฟันเคลื่อนมากจนต้องเสียเงินในการจัดฟันรอบสอง และเสียเวลาในการรักษาอีกครั้ง
วิธีแก้รีเทนเนอร์หลวม
วิธีแก้ปัญหารีเทนเนอร์หลวมนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ใส่รีเทนเนอร์หรือคนทั่วไปไม่สามารถทำได้ ดังนั้น หากรู้สึกว่ารีเทนเนอร์มีความผิดปกติ แน่นจนเกินไป หรือหลวมจนรู้สึกได้ รวมทั้งความผิดปกติอื่นๆ ควรพบทันตแพทย์ เพื่อให้ทันตแพทย์แก้ไขหรือทำรีเทนเนอร์ใหม่ให้มีขนาดเข้ากับโครงสร้างฟัน
- วิธีแก้รีเทนเนอร์แบบลวดที่หลวม: เบื้องต้นสามารถดัดให้เข้ากับโครงฟันเองได้ แต่หากยังไม่สามารถแก้ไขได้ หรือไม่แน่ใจว่าทำได้พอดีกับช่องปาก แนะนำให้พบทันตแพทย์
- วิธีแก้รีเทนเนอร์แบบใสที่หลวม: พบทันตแพทย์เพื่อการแก้ไข หรือทำรีเทนเนอร์ใหม่
วิธีใส่-ถอดรีเทนเนอร์ที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันรีเทนเนอร์หลวม
เพื่อป้องกันการเกิดปัญหารีเทนเนอร์หลวม มาดูวิธีสวมใส่รีเทนเนอร์ให้ถูกวิธีกัน นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้รีเทนเนอร์หลวมได้แล้ว ยังอาจช่วยวิธียืดอายุการใช้งานรีเทนเนอร์ได้ด้วย
รีเทนเนอร์แบบลวด
สำหรับผู้ที่สวมใส่รีเทนเนอร์แบบลวดนั้นหากต้องการยืดอายุการใช้งานให้รีเทนเนอร์ไม่เสียรูปหรือหลวม สามารถทำตามได้โดยการสวมและถอดรีเทนเนอร์อย่างถูกวิธี
- การสวมรีเทนเนอร์แบบลวดให้ถูกวิธีมีด้วยกัน 3 ขั้นตอน
- สังเกตลักษณะของรีเทนเนอร์ โดยส่วนที่เป็นพลาสติกจะต้องอยู่ด้านหน้าของฟัน ส่วนที่เป็นลวดจะอยู่ด้านนอกของฟัน อีกทั้งรีเทนเนอร์จะมีด้วยกัน 2 ชิ้น คือสำหรับครอบฟันบนและครอบฟันล่าง โดยอาศัยการหันเป็นรูปตัว U ออกด้านนอกปาก เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกต
- วางรีเทนเนอร์ลงตามแนวฟัน โดยรีเทนเนอร์จะพอดีกับโครงสร้างฟัน จากนั้นค่อยๆ กดรีเทนเนอร์ลงไปให้เพื่อให้ล็อกเข้ากับโครงสร้างฟันทั้งด้านในและด้านนอก
- ตรวจเช็กตัวรีเทนเนอร์ว่าล็อกและพอดีกับโครงสร้างฟันหรือไม่ โดยใช้กระจกเป็นตัวช่วย
- การถอดรีเทนเนอร์แบบลวดให้ถูกวิธี
ขยับรีเทนเนอร์โดยเริ่มถอดจากบริเวณด้านข้าง อาศัยการจับรีเทนเนอร์ทั้ง 2 ฝั่ง ขยับสลับกันระหว่างด้านซ้ายและด้านขวาจนรีเทนเนอร์หลุดออก หากทำการดึงรีเทนเนอร์ออกมาโดยตรง อาจจะทำให้รีเทนเนอร์เสียรูปและหลวมได้ในที่สุด
รีเทนเนอร์แบบใส
รีเทนเนอร์แบบใสก็เช่นกัน หากต้องการยืดอายุการใช้งานให้รีเทนเนอร์ไม่เสียรูปหรือหลวม ควรสวมรีเทนเนอร์ และถอดรีเทนเนอร์อย่างถูกวิธี
- การสวมรีเทนเนอร์แบบลวดให้ถูกวิธีมีด้วยกัน 3 ขั้นตอน
- สังเกตรีเทนเนอร์พร้อมตรวจสอบว่าด้านไหนคือด้านบนและด้านล่าง ซึ่งรีเทนเนอร์ในรูปแบบใสจะสังเกตได้ง่ายกว่ารีเทนเนอร์แบบลวด จากนั้นทำการสวมครอบตามแนวฟันได้เลย
- สวมรีเทนเนอร์ตามแนวโครงสร้างฟัน เริ่มจากการวางรีเทนเนอร์ให้พอดี จากนั้นค่อยๆ กดรีเทนเนอร์ให้ล็อกเข้ากับฟัน
- ตรวจเช็กตัวรีเทนเนอร์ว่าล็อกและพอดีกับโครงสร้างฟันหรือยัง หากพอดีแล้วตัวรีเทนเนอร์จะไม่สามารถขยับไปมาได้
- การถอดรีเทนเนอร์แบบใสให้ถูกวิธี
ทำคล้ายๆ วิธีเดียวกันการถอดรีเทนเนอร์แบบลวด โดยเริ่มจากการถอดจากด้านใน ด้วยการจับบริเวณด้านข้างทั้ง 2 ข้าง จากนั้นค่อยๆ ขยับออกมาด้านนอก แต่ต้องอาศัยความระมัดระวังเนื่องจากรีเทนเนอร์แบบใสบอบบางกว่ารีเทนเนอร์แบบลวด
ข้อควรระวังในการใส่-ถอดรีเทนเนอร์
การใส่-ถอดรีเทนเนอร์ทั้ง 2 แบบก็มีข้อควรระวังและข้อหลีกเลี่ยงร่วมกัน ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการใช้ลิ้นดันหรือใช้ฟันกัดจนลงล็อก เพราะนับเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ตัวรีเทนเนอร์หลวม
- หลีกเลี่ยงการนำรีเทนเนอร์ไปวางหรือสัมผัสกับความร้อน เพราะจะทำให้รีเทนเนอร์ผิดรูป
- หลีกเลี่ยงการนำรีเทนเนอร์ห่อด้วยกระดาษทิชชู่ในขณะกินอาหาร เพราะอาจจะทำให้ลืมและสูญหายได้ในที่สุด ควรมีกล่องเก็บรีเทนเนอร์โดยเฉพาะ
- หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดโดยใช้แรงขัดถู เพราะอาจจะเกิดรอย จนเกิดเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนหรือน้ำเย็นจัดในการทำความสะอาด เพราะอาจจะทำให้รีเทนเนอร์เสียทรง
- หลีกเลี่ยงการซ่อมรีเทนเนอร์เอง ควรให้ทันตแพทย์เป็นผู้แก้ไขให้
สรุป
ปัญหารีเทนเนอร์หลวมนั้นเป็นปัญหาที่ผู้ที่จัดฟันเสร็จแล้ว หรือผู้ที่กำลังใส่รีเทนเนอร์อยู่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจจะส่งผลให้ฟันเคลื่อนที่ ฟันห่าง ฟันล้ม และอาจมีปัญหาฟันอื่นๆ ตามมาได้ และอาจจะก่อให้เกิดรายจ่ายก้อนใหญ่อีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากรู้สึกว่ารีเทนเนอร์หลวม จึงควรรีบเข้าพบทันตแพทย์ เพื่อแก้ไข หรือทำใหม่ให้เร็วที่สุด