อาการนอนกัดฟันเป็นหนึ่งในโรคยอดฮิตที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ส่งผลให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตขึ้นได้หลากหลายแบบ ทั้งปัญหาด้านสุขภาพ และด้านความสัมพันธ์ 

ในบทความนี้จะพามาแนะนำให้รู้จักกับอาการนอนกัดฟัน เพื่อให้เข้าใจลักษณะอาการว่าเป็นอย่างไร มีสาเหตุเกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันหรือไม่ รวมไปถึง วิธีแก้อาการนอนกัดฟัน และวิธีการรักษา

อาการนอนกัดฟันคืออะไร 

อาการนอนกัดฟันคืออะไร 

การนอนกัดฟัน (Sleep Bruxism) คือ การขบกรามและบดฟันระหว่างการนอนหลับ ซึ่งถือเป็นความผิดปกติในการนอนหลับ (Sleep Disorder) ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับหลายคน โดยการนอนกัดฟันสามารถปรากฎลักษณะอาการเป็นการกัดฟันแน่น แต่ไม่มีการเคลื่อนที่ของฟันไปมา ซึ่งจะไม่เกิดเสียง หรืออาการขบกัดฟัน และมีการถูฟันไปมา จนเกิดเป็นเสียงรบกวนต่อคนรอบข้าง

โดยการนอนกัดฟันจะมีตั้งแต่ระดับความรุนแรงไม่มาก จนถึงระดับที่มีอาการรุนแรง ซึ่งจะสร้างปัญหาในช่องปากตามมา เช่น เคลือบฟันและเนื้อฟันเสียหาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ภาวะนอนกัดฟันนี้อาจนำไปสู่การแตกหักของฟัน ปวดศีรษะ ปวดคอ และปวดเมื่อยตามส่วนอื่นๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้เกิดการสบฟันที่ไม่ตรงแนว ซึ่งอาจจะต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในภายหลัง

สาเหตุนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร

สาเหตุนอนกัดฟัน เกิดจากอะไร

การนอนกัดฟันเป็นภาวะที่เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ผลมาจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายใน เช่น ความเครียด วิตกกังวล หรือโรคบางอย่าง เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ที่ทำให้การทำงานกล้ามเนื้อผิดปกติ หรือความผิดปกติของการนอนหลับต่างๆ ที่พัฒนาไปสู่ภาวะดังกล่าว โดยสาเหตุของการนอนกัดฟัน มีดังนี้

พฤติกรรม

คนที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบแข่งขัน หรือคนสมาธิสั้น มักเกิดการสะสมความเครียดจากสภาพแวดล้อม จนอาจเป็นเหตุให้มักมีพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเครียด หรือความผิดปกติในการนอนหลับ เช่น การกัดฟัน หรือกัดฟันในขณะนอนหลับเกิดขึ้นได้

อายุ

การนอนกัดฟันพบได้บ่อยในวัยเด็กซึ่งเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป โดยสามารถหายไปเองเมื่อเริ่มโตเป็นวัยรุ่นได้ แต่ในวัยผู้ใหญ่เองก็สามารถพบได้โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านความเครียด

การใช้ยาบางประเภท

ยาบางชนิดที่แพทย์สั่งอาจทำให้นอนกัดฟันได้ โดยเฉพาะยาที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้า และยารักษาอาการทางจิต อาจมีผลข้างเคียงที่ก่อให้เกิดภาวะนี้ได้

การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น กาแฟ ชา หรือแอลกอฮอล์ สามารถก่อให้เกิดอาการนอนกัดฟันได้ เพราะคาเฟอีนสามารถกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางได้ ดังนั้น การดื่มกาแฟก่อนนอนจะทำให้หลับยากและตื่นบ่อยตลอดทั้งคืน 

ส่วนแอลกอฮอล์เป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ดังนั้น ผลลัพท์ของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็จะมีความคล้ายคลึงกับการดื่มกาแฟ คือ ทำให้การนอนหลับสนิทเป็นไปได้ยากขึ้น ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเครียดตกค้าง หรือทำให้กล้ามเนื้อกรามทำงานระหว่างหลับ ส่งผลให้เกิดการกัดฟันในขณะนอนหลับได้

พันธุกรรม

การนอนกัดฟันเป็นภาวะที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ทำให้หากภายในครอบครัวมีปัญหาการนอนกัดฟัน ผู้ที่เป็นลูกหรือบุตรหลานก็สามารถมีปัญหาเหล่านี้ได้เช่นเดียวกัน 

ลักษณะอาการของคนนอนกัดฟัน

การนอนกัดฟันเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กและผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม บางคนอาจประสบกับอาการนี้เป็นเวลาหลายปี โดยไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากมองว่าเป็นภาวะที่ไม่มีความอันตราย ซึ่งอาการนอนกัดฟันสามารถสังเกตในคนอื่นได้ง่าย โดยอาจสังเกตจากเสียงฟันที่กระทบหรือบดกันระหว่างการนอนหลับ แต่สำหรับคนที่อยู่คนเดียวหรือต้องการสังเกตว่าตัวเองมีอาการนอนกัดฟันหรือไม่นั้น ก็จะต้องอาศัยการสังเกตอาการอื่นๆ เช่น

หากพบว่ามีอาการเหล่านี้หลายอันร่วมกัน ควรไปปรึกษาทันตแพทย์ หรือแพทย์ เพราะปัญหาเหล่านี้อาจมีที่มาจากอาการนอนกัดฟัน

รักษาอาการนอนกัดฟัน ก่อนเป็นปัญหาเรื้อรัง

รักษาอาการนอนกัดฟัน ก่อนเป็นปัญหาเรื้อรัง

อาการนอนกัดฟันสามารถหายไปเองได้ เมื่อเวลาผ่านไปหรือเมื่อปัจจัยที่เป็นสาเหตุของอาการหายไป เช่น มีความเครียดน้อยลง หรือหยุดกินยาที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว แต่ในบางครั้งอาการนอนกัดฟันอาจไม่หายไป หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้อาจต้องใช้วิธีรักษานอนกัดฟันอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหานี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมาในอนาคต เช่น

ใส่เฝือกสบฟัน

เฝือกสบฟัน เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากอะคริลิกแข็งหรือวัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเกิดความเสียหายจากการบด และขบเคี้ยวฟัน ซึ่งสามารถใช้ใส่ระหว่างนอนหลับ สามารถช่วยรักษาอาการนอนกัดฟันได้

ยางกัดฟัน

ยางกัดฟัน เป็นอุปกรณ์ยางใสหรือซิลิโคนที่มีไว้ เพื่อใส่ครอบฟันในเวลากลางคืน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอาการกัดฟัน หรือสบฟัน และช่วยบรรเทาอาการที่จะตามมาของการนอนกัดฟัน เช่น ฟันสึกหรอ หรือเคลือบฟันเสื่อมได้

ใช้ยาที่ช่วยในการนอนหลับ

การใช้ยารักษาก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อรักษานอนกัดฟันได้ แม้จะไม่ค่อยนิยมนัก เพราะการรักษาด้วยยาอาจได้ผลที่ไม่ชัดเจน หรืออาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึ่งประสงค์ได้ โดยตัวอย่างยาที่ใช้ในการรักษา ได้แก่ 

การผ่าตัด

ในบางครั้งการกัดฟันที่เกิดจากปัญหาทางทันตกรรม เช่น รูปร่างการเรียงตัวของฟัน รูปร่างของกรามและขากรรไกร ก็อาจจะใช้วิธีการจัดฟันหรือการผ่าตัดขากรรไกรมาช่วยเหลือและแก้ปัญหานอนกัดฟันได้ โดยในกรณีที่การนอนกัดฟันทำให้เกิดความเสียหายต่อฟันจนฟันเสียสภาพแล้ว ทันตแพทย์ก็อาจจะทำการปรับแต่งพื้นผิวฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยวหรือครอบฟันด้วย

หากเกิดอาการนอนกัดฟันเรื้อรังจะเกิดอะไรขึ้น

หากเกิดอาการนอนกัดฟันเรื้อรังจะเกิดอะไรขึ้น

การนอนกัดฟันหากปล่อยไว้นาน อาจส่งผลเสียมากมายต่อสุขภาพช่องปาก นี่คือเหตุผลหนึ่งว่าทำไมการพบทันตแพทย์เป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะได้จัดการกับปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงที ก่อนที่ปัญหานั้นจะกลายไปเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งสร้างความเสียหายหรือความเจ็บปวด โดยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหากปล่อยให้การนอนกัดฟันกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ได้แก่

หากมีอาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ควรไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อให้สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นการนอนกัดฟันหรือไม่ โดยทำการทดสอบต่างๆ เช่น การตรวจเอกซเรย์ การทดสอบรอยกัด เป็นต้น

วิธีป้องกันไม่ให้นอนกัดฟันอีกต่อไป

วิธีป้องกันไม่ให้นอนกัดฟันอีกต่อไป

หลังจากรักษานอนกัดฟันหายแล้ว ก็ยังสามารถกลับมามีอาการได้ ดังนั้น วิธีป้องกันนอนกัดฟัน มีดังต่อไปนี้

สรุป

สาเหตุที่หลายคนนอนกัดฟันเนื่องจากบุคลิกและพฤติกรรมของผู้ป่วยเองที่อาจส่งผลให้ไปกระตุ้นอาการเหล่านี้ได้ จึงทำให้ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันอาจรู้สึกปวดฟันหรือไม่สบายตัวขึ้นได้ ดังนั้น วิธีแก้ไม่ให้นอนกัดฟันจึงควรเป็นการพบทันตแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอาการในเบื้องต้นก่อนว่านอนกัดฟันจริงหรือไม่ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงการหาวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้กลับมานอนกัดฟันอีกต่อไป