หลังจากรักษารากฟันเรียบร้อยแล้ว การดูแลอาการหลังรักษารากฟันถือว่าสำคัญมาก เนื่องจากรากฟันเป็นส่วนที่อยู่ใต้เหงือก จึงยากต่อการมองเห็นและยากต่อการทำความสะอาด หากดูแลช่องปากและฟันไม่ดี อาจทำให้รากฟันอักเสบหรือเกิดอาการข้างเคียงตามมา บทความนี้จะพาทุกคนไปเรียนรู้ข้อปฏิบัติหลังรักษารากฟันที่แนะนำโดยทันตแพทย์
7 วิธีดูแลอาการหลังรักษารากฟัน
1. เลี่ยงการรับประทานอาหารทันทีหลังรักษารากฟัน
คำแนะนำหลังการรักษารากฟันข้อแรกคือควรเลี่ยงการรับประทานอาหารทันทีหลังรับการรักษา เพื่อป้องกันการกัดลิ้น กระพุ้งแก้มหรืออันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ภายในช่องปากและฟัน นอกจากนั้น การรับประทานอาหารยังควรเลี่ยงและควรเลือกให้ถูก ดังนี้
- อาหารที่ควรเลี่ยง
เลี่ยงอาหารที่มีลักษณะแข็งและเหนียว เพราะเป็นประเภทอาหารที่จำเป็นต้องใช้แรงเคี้ยว อาจจะส่งผลให้รากฟันเกิดปัญหาขึ้นได้ รวมทั้งอาหารที่เย็นจัดหรือร้อนจัด เนื่องจากอาจจะทำให้แผลอักเสบหรือหายช้า
- อาหารที่ควรเลือก
ควรรับประทานอาหารเหลวเพื่อเลี่ยงการออกแรงเคี้ยวและหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องเศษอาหารที่อาจจะตกค้างในแผล อันจะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองหรืออักเสบขึ้นได้ นอกจากนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารอ่อนหลังรักษารากฟันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดอาการหลังรักษารากฟันอันไม่พึงประสงค์อื่นๆ
2. เลี่ยงการใช้ฟันในส่วนที่พึ่งผ่านการรักษารากฟันมา
หลังรักษารากฟัน ฟันอาจยังไม่แข็งแรงมากนัก ควรเลี่ยงการใช้งานซี่ฟันที่ได้รับการรักษามา งดเคี้ยวหรือกัดอาหารด้วยฟันซี่ที่รับการรักษา เพื่อป้องกันปัญหาฟันแตกหัก
3. หมั่นสังเกตอาการสุขภาพของฟันให้ดี
หากพบอาการปวดฟันหลังรักษารากฟันหรือปวดบริเวณที่รักษารากฟันที่นานทั้งสัปดาห์ แสดงว่าอาจจะเกิดปัญหาระหว่างขั้นตอนการรักษาขึ้น หรือเกิดกรณีวัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุด เพื่อป้องกันโรคในช่องปากที่สามารถเข้าสู่ภายในคลองฟันได้ ให้รีบพบทันตแพทย์ทันที
4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่
ข้อปฏิบัติหลังรักษารากฟันอีกข้อที่ควรทำตามอย่างเคร่งครัด คือ ควรเลี่ยงบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาทิ เหล้า เบียร์ เพราะอาจส่งผลให้เหงือกและฟันอักเสบได้ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่อาการข้างเคียงหรือโรคแทรกซ้อน ได้
5. ทำความสะอาดช่องปากและฟันให้ดี
สุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มต้นง่ายๆ จากการดูแลตัวเองด้วยวิธีทำความสะอาดช่องปากและฟัน ทั้งนี้ เพื่อให้สุขภาพช่องปากและฟันกลับมาแข็งแรงดังเดิม อีกทั้งป้องกันเชื้อโรคและแบคทีเรียสะสมอื่นๆ ทั้งนี้ การทำความสะอาดสุขภาพปากมีด้วยกันหลากหลายวิธี อาทิ
- การแปรงฟันที่ถูกวิธี
- การใช้ไหมขัดฟัน
- การใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาบ้วนปาก
- ตรวจสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง
- ตรวจสุขภาพช่องปากประจำปีกับทันตแพทย์มากประสบการณ์ใกล้บ้าน
6. หากเกิดอาการปวดฟัน ให้ทานยาและใช้วิธีรักษาเบื้องต้นก่อน
หากมีอาการปวดฟันหลังรักษารากฟัน ให้กินยาแก้ปวดหรือยาบรรเทาอาการต่างๆ ก่อน ทั้งนี้ ควรเลือกซื้อกับร้านขายยา โรงพยาบาล คลินิก หรือเภสัชกรที่เชื่อถือได้ อีกทั้งยังต้องศึกษาฉลากยาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดอย่างรุนแรง ให้รีบพบทันตแพทย์ใกล้บ้านทันที
นอกจากการทานยาแล้วยังมีวิธีการจัดการกับอาการปวดฟันแบบอื่นๆ อีก อาทิ บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ใช้ไหมขัดฟันเพื่อจำกัดเศษอาหารที่อาจจะติดบริเวณซอกฟัน ประคบอุ่นบริเวณฟันข้างที่รักษารากฟัน งดบุหรี่หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งงดแปรงฟันบริเวณที่มีแผล เป็นต้น
7. พักผ่อนให้เพียงพอ
คำแนะนำหลังการรักษารากฟันประการสุดท้ายคือพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูอาการเจ็บปวดต่างๆ รวมทั้งซ่อมแซมส่วนสึกหรอ เพื่อให้ระบบร่างกายในส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น หลังรักษารากฟัน
ผลข้างเคียงหลังรักษารากฟัน อาจจะส่งผลให้มีอาการต่างๆ เพียงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2-3 วันเท่านั้น ทั้งนี้อาการที่จะเกิดขึ้นสามารถแบกออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่
- อาการปวดระหว่างการรักษา: เหงือกบวมหรือเหงือกอักเสบ ซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อโรค
- อาการปวดหลังการรักษา: ปวดฟันเป็นช่วงๆ เนื่องจากคลองรากฟันยังไม่สะอาดพอ หรือขยายคลองรากฟันไม่หมด หรือฟันแตกหัก กรณีนี้เมื่อวินิจฉัยแล้วอาจจะต้องมีการรื้อรักษาใหม่ หรือผ่าตัดปลายรากฟันร่วมด้วย แต่หากอาการปวดดังกล่าวยังไม่มีท่าทีที่ดีขึ้นหลังจากทำการแก้ไขข้างต้นแล้ว อาจจะต้องทำการถอดฟันดังกล่าวออก
รักษารากฟันแล้วยังรู้สึกปวดฟัน ต้องทำอย่างไรดี
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าอาการปวดจะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 2-3 วันโดยประมาณ ดังนั้น หากรักษารากฟันแล้วปวดฟันเป็นเวลานานมากจนเกินไป อาจจะเป็นเพราะมีปัญหาอื่นๆ ควรพบทันตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย
สาเหตุที่ทำให้ยังเกิดอาการปวดฟันอยู่
อาการหลังรักษารากฟัน ที่เป็นอยู่นานและไม่ยอมหาย อาจมีสาเหตุแยกย่อยได้ดังนี้
- แผลติดเชื้อ: เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่หลงเหลืออยู่ในช่องปาก หรือมาจากเครื่องมือและวัสดุทันตกรรมต่างๆ ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อมาอย่างถูกวิธี
- มีรอยรั่วบริเวณที่อุดฟัน: หลังการรักษารากฟัน คนไข้จะได้รับการอุดฟันด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราวก่อน ซึ่งมีโอกาสหลุดได้ง่าย ดังนั้น ควรเลี่ยงอาหารที่เหนียวและแข็ง เพื่อเป็นการระวังในการใช้ฟันบดเคี้ยวอาหาร
- รากฟันหรือคลองรากฟันอาจจะได้รับการทำความสะอาดได้ยังไม่ทั่วถึง: จึงทำให้เกิดเชื้อโรคหรือแบคทีเรียจากเศษอาหารได้ ส่งผลให้มีอาการปวดฟันตามมา
วิธีการรักษาด้วยทันตแพทย์เฉพาะทาง
สำหรับการปวดฟันหลังรักษารากฟันที่เกิดขึ้นนั้น มีแนวทางในการรักษา ดังนี้
- กรณีที่เกิดจากเศษอาหารหรือคราบสกปรกที่หลงเหลืออยู่ ทันตแพทย์อาจจะต้องนำวัสดุที่อุดฟันออก แล้วทำการรักษารากฟันใหม่
- กรณีที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในฟันจนส่งผลกระทบให้สุขภาพฟันอ่อนแอ จนเกิดการแตกร้าวหรือเนื้อฟันหลุด จำเป็นที่จะต้องถอนฟันซี่ดังกล่าวออก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อลุกลาม
สรุป
หลังกระบวนการหลังรักษารากฟันสิ้นสุดแล้ว ควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างเคร่งครัด โดยการงดใช้ฟันซี่นั้น และเลือกรับประทานอาหารให้ถูกวิธี รวมถึงหมั่นสังเกตอาการหลังรักษารากฟัน หรือสังเกตอาการปวดฟันหลังรักษารากฟันอยู่เสมอ อาการข้างเคียงเหล่านี้นั้น มักเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ กล่าวคือ 2-3 วันโดยประมาณ แต่หากพบว่ายังมีอาการข้างเคียงต่อเป็นเวลานานผิดปกติ นั่นอาจเป็นเพราะมีปัญหาหรือผลข้างเคียงอื่นๆ ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที หรือเข้ามารับบริการปรึกษากับคลินิกทันตกรรม PLUS Dental Clinic เพื่อหาต้นตอของปัญหาและรักษารากฟันให้กลับมาสุขภาพดีดังเดิม