โรคปริทันต์ (Periodontitis) หรือโรครำมะนาด คืออาการอักเสบและติดเชื้อรุนแรงของเหงือก กระดูกรองรับรากฟัน และเอ็นยึดรากฟัน ซึ่งเกิดจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคจากหินปูนที่ก่อตัว ส่งผลให้เกิดการทำลายอวัยวะโดยรอบตัวฟัน ในระยะเริ่มต้นของโรคปริทันต์นั้นจะเรียกว่าโรคเหงือกอักเสบในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เป็นโรคปริทันต์ได้ ด้วยการอักเสบที่รุนแรงจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยหลายๆ คนเกิดฟันโยกและต้องถอนฟันไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม โรคปริทันต์หรือโรครำมะนาดสามารถป้องกันได้เพียงรักษาสุขอนามัยในช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ บทความนี้จะพาไปเจาะลึกอาการของโรค ระยะของโรค วิธีรักษาและป้องกัน รวมถึงตอบคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคนี้กัน

อาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคปริทันต์

อาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคปริทันต์

การมีฟันและเหงือกที่แข็งแรงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ลักษณะโดยทั่วไปของคนที่มีเหงือกและฟันที่แข็งแรงสามารถสังเกตได้จาก สีของเหงือก หากเหงือกสุขภาพดีจะมีสีชมพูอ่อน อย่างไรก็ตาม สีของเหงือกก็ขึ้นอยู่กับกรรมพันธุ์และสีผิวของแต่ละบุคคลอีกด้วย นอกจากนี้ การแนบชิดของเหงือกก็เป็นอีกหนึ่งจุดสังเกตที่บ่งบอกถึงสุขภาพของเหงือกได้ เหงือกที่ดีต้องแนบชิดกับฟัน แน่น เต็มช่องฟัน ไม่ร่น และไม่มีเลือดออกตามไรฟัน ส่วนฟันที่ดีก็ต้องสะอาด ซอกฟันไม่มีคราบหินปูนหรือเศษอาหาร และไม่ผุ แต่เมื่อใดก็ตามที่เหงือกไม่แข็งแรง และมีการอักเสบที่รุนแรง ก็จะทำให้เกิดโรคปริทันต์ตามมา ซึ่งมีอาการดังต่อไปนี้

หากเริ่มมีอาการดังกล่าวข้างต้น ไม่ควรวางใจ ควรนัดหมายกับทันตแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เป็นการป้องกันรวมถึงรักษาความเสียหายของฟันและเหงือกได้ทันท่วงที

ระยะของโรคปริทันต์ที่ควรรู้

ระยะของโรคปริทันต์ที่ควรรู้

โรคปริทันต์สามารถแบ่งได้ตามระยะต่างๆ โดยอิงจากความรุนแรงของอาการที่พบ ซึ่งจะเป็นระดับเริ่มต้นซึ่งก็คืออาการอักเสบ ไปจนถึงระดับที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ระยะของโรคปริทันต์สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระยะอักเสบ หรือเหงือกอักเสบ ระยะก่อนปริทันต์ ระยะกลางของโรคปริทันต์ และระยะสุดท้ายของปริทันต์

1.ระยะอักเสบ หรือเหงือกอักเสบ

ระยะเริ่มแรกของโรคปริทันต์คือระยะอักเสบ หรือเหงือกอักเสบ (Gingivitis) โดยอาการเหงือกอักเสบนี้จะเป็นอาการแรกเริ่ม ก่อนพัฒนาไปเป็นโรคปริทันต์ หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ผู้ที่มีอาการเหงือกอักเสบจะมีเลือดไหลขณะแปรงฟันหรือขณะใช้ไหมขัดฟัน นอกจากนี้ สิ่งที่สังเกตได้อีกอย่างหนึ่งก็คือคราบพลัค (Plaque) ซึ่งมีลักษณะเป็นคราบจุลินทรีย์สีเหลืองเกาะอยู่ที่ฟัน สาเหตุอันเนื่องมาจากน้ำตาลในอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไป เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้คราบพลัคก่อตัวจนทำลายเหงือกและฟัน ก็ต้องลดอาหารที่มีน้ำตาล หมั่นแปรงฟัน และพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

2.ระยะก่อนปริทันต์

ระยะก่อนปริทันต์หรือระยะเริ่มแรกของโรคปริทันต์เป็นช่วงที่เริ่มมีอาการเหงือกร่นจากฟัน ทำให้เกิดช่องว่าง (Pockets) ระหว่างฟันและเหงือก ส่งผลให้กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดี ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายก็จะพยายามต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้ ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่นตามมา พร้อมกับอาการเลือดออกขณะแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน และกระดูกรองรับรากฟันอาจเริ่มถูกทำลาย

3.ระยะกลางของโรคปริทันต์

หากไม่ได้รับการรักษาในระยะแรกเริ่มของโรคปริทันต์ อาการของโรคก็จะพัฒนาเข้าสู่ระยะกลางของโรคปริทันต์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีความรู้สึกเจ็บบริเวณที่มีเหงือกร่น อาการเหงือกร่นก็จะมากขึ้น อาการอักเสบจะขยายวงกว้างออกไป มีเลือดออก เชื้อแบคทีเรียจะทำลายกระดูกรองรับรากฟันมากขึ้น ทำให้เกิดอาการฟันโยก อาการของโรคก็จะชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

4.ระยะสุดท้ายของปริทันต์

ระยะสุดท้ายของโรคปริทันต์ เนื้อเยื่อที่ยึดฟันให้อยู่กับที่จะเริ่มเกิดการเสื่อมสภาพ เหงือกและกระดูกรองรับรากฟัน รวมถึงเนื้อเยื่อต่างๆ ที่รองรับฟันจะถูกทำลาย ฟันจะเริ่มหลุดไป ฟันหน้าจะห่างออก มีอาการเจ็บปวดขณะเคี้ยวอาหาร มีกลิ่นปากรุนแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในระยะนี้จะต้องถอนฟันแท้ออกไปจนหมด และในระยะสุดท้ายของโรคปริทันต์นั้นถือว่ามีอาการที่รุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะนอกจากจะสูญเสียฟันแล้ว ยังสามารถนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น เบาหวาน หรือโรคหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย

วิธีรักษาโรคปริทันต์ หรือโรครำมะนาด

วิธีรักษาโรคปริทันต์ หรือโรครำมะนาด

โรคปริทันต์หรือโรครำมะนาดนั้นมีแนวทางการรักษาที่ขึ้นอยู่กับอาการและระยะของโรค โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจดูอาการ วินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของอาการ เพื่อทำการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งวิธีการรักษามีดังนี้

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

การรักษาโรคปริทันต์แบบไม่ผ่าตัดนั้นเหมาะกับผู้ที่มีอาการในระยะแรกเริ่ม หรือยังไม่รุนแรง การพิจารณาของทันตแพทย์ก็ขึ้นอยู่กับว่าการรักษาแบบไม่ผ่าตัดได้ผลที่ดีต่อการรักษาโรคปริทันต์ในผู้ป่วยเคสนั้นๆ หรือเปล่า ซึ่งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก็มีอยู่หลายวิธี เช่น

การขูดหินปูนเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการเหงือกอักเสบ หรือเป็นโรคปริทันต์ในระยะแรกเริ่ม ผู้ป่วยควรเข้ารับการขูดหินปูนกับทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง รวมถึงการทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์ในการดูแลรักษาฟัน ไม่ว่าจะเป็นการแปรงฟันให้ถูกวิธีและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการขูดหินปูนมากกว่า 2 ครั้งต่อปี เพื่อควบคุมอาการของโรค

การเกลารากฟันคือการใช้เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปทำความสะอาดฟันแบบล้ำลึก โดยจะทำความสะอาดด้านบนและใต้เหงือกประมาณ 3 มิลลิเมตรจากบริเวณขอบเหงือก เพื่อขจัดคราบพลัคและหินปูนออกไป รวมถึงมีการเกลาให้พื้นผิวใกล้รากฟันมีความเรียบ เมื่อเกลารากฟันเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะใส่เจลฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ยังหลงเหลืออยู่ หากมีอาการรุนแรงอาจจะต้องกลับมารักษาด้วยวิธีเกลาฟันอีกครั้งเพื่อให้อาการหายขาด หลังการเกลาฟันอาจมีอาการเจ็บและมีเลือดออกซึ่งสามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้

การรักษาด้วยเลเซอร์เป็นการรักษาที่ต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาแบบทั่วไป โดยทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์เพื่อนำเอาเนื้อเยื่อของเหงือกที่อักเสบรอบๆ รากฟันออกไป จากนั้นก็จะทำการกำจัดหินปูนและคราบพลัค และใช้เครื่องมือเกลาฟันทั้งด้านบนและใต้เหงือก ในช่วงระยะฟื้นตัว เหงือกจะต้องไม่อักเสบและจะกลับมาแนบชิดกับฟันได้ปกติ ทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องมีประสบการณ์ และรู้วิธีการรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากคลื่นเลเซอร์มีความยาวคลื่นแตกต่างกันออกไปตามแต่จุดประสงค์ของการใช้งาน

การรักษาด้วยยา คือ การใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) มาใช้รักษาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่ว่าจะเป็นการใช้น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ หรือการทานยาปฏิชีวนะ 

การรักษาแบบผ่าตัด

การรักษาโรคปริทันต์นอกเหนือจากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดแล้ว การักษาโดยการผ่าตัดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งมีหลากหลายวิธี ได้แก่

ในกรณีที่ยังมีการอักเสบเกิดขึ้น หรืออักเสบในบริเวณที่แปรงฟันหรือไหมขัดฟันเข้าไปไม่ถึง ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดแบบ Flap Surgery ซึ่งการผ่าตัดแบบนี้จะเป็นการผ่าเหงือกเพื่อจะสามารถยกเนื้อเยื่อของเหงือกขึ้นให้เห็นรากฟัน จากนั้นทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนและเกลาฟัน และปรับแต่งฟัน เพื่อให้เหงือกกลับมาแนบชิดกับฟันได้เป็นปกติ เมื่อหายดีแล้ว ผู้ป่วยสามรถทำความสะอาดและคงสภาพเหงือกและฟันที่ดีได้ง่ายขึ้น

การผ่าตัดในรูปแบบ Bone Grafting จะทำเมื่อโรคปริทันต์ได้ทำลายกระดูกรองรับรากฟันไปแล้ว วิธีนี้ใช้การปลูกถ่ายกระดูกของผู้ป่วยเอง จากกระดูกสังเคราะห์ หรือของผู้บริจาค เมื่อรักษาแล้วจะช่วยรองรับไม่ให้ฟันเคลื่อนหรือโยก เป็นการป้องกันการสูญเสียฟันในอนาคต

Soft Tissues Grafts คือการผ่าตัดในกรณีที่มีอาการเหงือกร่น วิธีการรักษาก็คือการนำเอาเนื้อเยื่อบริเวณเพดานปากของผู้ป่วย หรือเนื้อเยื่อจากผู้บริจาคท่านอื่นๆ มาติดกับบริเวณที่มีปัญหา โดยวิธีนี้ช่วยให้อาการเหงือกร่นลดลง

หลังผ่าตัดแล้วผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องปฏิบัติตัวดังนี้

วิธีป้องกันโรคปริทันต์ทำได้ง่ายๆ ป้องกันไว้ก่อนสายเกินแก้

วิธีป้องกันโรคปริทันต์ทำได้ง่ายๆ ป้องกันไว้ก่อนสายเกินแก้

การป้องกันโรคปริทันต์นั้นไม่ยาก ทุกคนสามารถทำได้ เพียงแค่มีวินัย และรู้จักวิธีการรักษาสุขภาพช่องปาก ไม่ให้มีแบคทีเรียเข้าไปทำลายเหงือกและฟัน หากต้องการที่จะมีฟันสวยสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคปริทันต์สามารถปฏิบัติตัวง่ายๆ ดังนี้

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคปริทันต์

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคปริทันต์

พอจะเข้าใจภาพรวมของโรคปริทันต์แล้ว ทีนี้มาดูคำถามยอดฮิตที่มักจะได้ยินบ่อยๆ กันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจมากขึ้น

เราสามารถรักษาโรคปริทันต์ด้วยตัวเองได้ไหม

การรักษาโรคปริทันต์ด้วยตัวเองไม่สามารถทำได้ เนื่องจากในการรักษานั้นต้องมีการขูดหินปูนตามร่องฟันและใต้เหงือก ซึ่งต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้คือการดูแลรักษาความสะอาดของช่องปากอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ และนัดติดตามอาการหลังการรักษาโรคปริทันต์

การรักษาโรคปริทันต์ใช้เวลานานเท่าไร

โรคปริทันต์ใช้เวลาการรักษาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ความรุนแรงของโรคปริทันต์ การดูแลรักษาความสะอาดของเหงือกและฟัน รวมถึงการรักษาติดตามอาการของทันตแพทย์ โดยผู้ป่วยจะต้องพบทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

โรคปริทันต์สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้หรือไม่

โรคปริทันต์สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้หรือไม่

โรครำมะนาด หรือโรคปริทันต์ คือ โรคที่แบคทีเรียเข้าทำลายอวัยวะรอบๆ ตัวฟัน จนอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียฟันได้ ในกรณีที่อาการหนักมากๆ อาจจะต้องถอนฟันออก แล้วใส่ฟันปลอมเข้าไปแทน ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นโรคปริทันต์มักจะมีอาการเหงือกบวมแดง เหงือกย่น ฟันโยก บางครั้งอาจมีกลิ่นปากร่วมด้วย สำหรับการรักษาสามารถทำได้ 2 วิธีคือ รักษาด้วยการผ่าตัด และรักษาด้วยกันไม่ผ่าตัด โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ทำการประเมินอาการ และเลือกการรักษาที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย หากใครที่ไม่อยากสูญเสียฟันการป้องกันโรคปริทันต์ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแปรงฟันให้ถูกวิธี ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอ และตรวจเช็กสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำ