เคยสงสัยไหมว่า เวลาที่กินข้าวอยู่ หรือกินขนมขบเคี้ยวต่างๆ เมื่อใช้ฟันส่วนในสุดบดเคี้ยว แล้วเกิดรู้สึกปวดฟันกรามขึ้นมา ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ทรมาน และน่าหงุดหงิดใจ เพราะไม่สามารถกินอาหารได้อย่างมีความสุข และอาจจะทำให้รู้สึกไม่อยากกินอะไรไปเลย ในความเป็นจริง อาการปวดฟันกรามอาจส่งผลเสียได้มากมายกว่าที่คาดคิด เช่น เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารตามมาได้ หรือหากปล่อยให้ปวดไปนานๆ ก็อาจมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ 

กดเลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจ

หลายคนคงสงสัยว่า ถ้าเกิดปวดฟันกรามต้องทำยังไงให้หาย? หรืออาการปวดฟันกรามมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง? ในบทความนี้ จะนำข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดฟันกราม และแนะนำวิธีแก้ไขต่างๆ มาแชร์เพื่อสุขภาพช่องปากของทุกคน

เปิดสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้หลายคนปวดฟันกราม

เปิดสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้หลายคนปวดฟันกราม

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า สาเหตุหลักๆ ของการปวดฟันกรามนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง หรือมาจากสุขภาพฟันที่ไม่ดีเพียงอย่างเดียวหรือไม่ ในความเป็นจริง นอกจากปัญหานี้จะเกิดจากพฤติกรรมการกิน และการใช้ฟันแล้ว บางคนก็อาจเกิดจากปัญหาเรื่องของสุขภาพตั้งแต่กำเนิดก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ เมื่อพบความผิดปกติเหล่านี้จำเป็นต้องพบทันตแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว โดยรายละเอียดสาเหตุหลักๆ ของการปวดฟันกราม มีดังนี้

●      ฟันเป็นหนอง ฝีในช่องปาก

ฝีในช่องปาก คือ การรวมของสิ่งที่ติดเชื้ออยู่กลางฟันหรือที่เรียกว่า “หนอง” ซึ่งเกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียในฟันกรามที่ผุ ที่ถูกปล่อยไว้นานและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เมื่อมีรอยแตกแบคทีเรียจะเข้าไปยังเนื้อฟันจนมีการติดเชื้อและเกิดเป็นหนองขึ้นมา จนส่งผลทำให้มีอาการปวดฟันกรามรุนแรงมาก มีอาการกรามบวม และรู้สึกไวต่ออุณภูมิ เช่น เมื่อกินของเย็นหรือของร้อน ก็จะรู้สึกเสียวฟันเป็นพิเศษ และยังรู้สึกเจ็บเวลาเคี้ยว นอกจากนี้ อาจมีปัญหากลิ่นปากที่เหม็น หรือบางกรณีที่ติดเชื้อรุนแรงอาจมีไข้ร่วมด้วย

หากพบอาการแบบนี้ ควรพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด หรือรีบพบภายใน 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจเป็นเหตุให้ต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ เพราะหากปล่อยไว้จนเกิดติดเชื้อทั่วร่างกาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายตามมาได้ โดยในการรักษานั้นจำเป็นต้องกรีดระบายฝีออกมา และอาจต้องทำคลองรากฟัน หรืออาจถึงขั้นผ่าตัด เพื่อทำความสะอาดในบริเวณที่ติดเชื้อ 

●      ฟันคุด

ฟันคุด คือ การที่ฟันไม่สามารถงอกขึ้นมาจากเหงือกได้อย่างเต็มที่ มักก่อให้เกิดอาการปวดฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ใต้เหงือก เมื่อฟันคุดไม่สามารถทะลุผ่านมาได้อย่างเต็มที่นั้น สามารถกระทบกระเทือนฟันซี่ใกล้เคียง หรือเหงือกได้ จึงนิยมรักษาด้วยการผ่าฟันคุดออก

ในอีกกรณีหากฟันคุดงอกมาเป็นมุมเฉียง จะทำให้ฟันข้างหน้านั้นโดนทำลายทีละน้อย และมีส่วนทำให้เกิดการติดเชื้อ และฟันผุ ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุทำให้ปวดฟันกรามเช่นกัน

●      เหงือกอักเสบ

เมื่อเหงือกอักเสบ เหงือกจะกัดเซาะออกจากตัวฟัน ทำให้ฟันหลวม และเกิดอาการปวดระหว่างเคี้ยวอาหารได้ นอกจากนี้ แผ่นเหงือกบริเวณที่ปิดฟันคุดอยู่ก็เป็นอีกสาเหตุทำให้รู้สึกปวดฟันกรามได้ เพราะเมื่อฟันคุดกำลังจะขึ้น มักจะก่อให้เกิดอาการปวดมากเป็นพิเศษ ซึ่งอาจมีสาเหตุของการติดเชื้อมาจากเหงือกที่อักเสบก็ได้

●      ไซนัสอักเสบ

อาการปวดฟันกรามบนสามารถมีสาเหตุเนื่องจากการติดเชื้อที่ไซนัส เพราะฟันกรามบริเวณนี้จะอยู่ใกล้ไซนัส และติดเชื้อได้จากแรงกดที่ศีรษะ ที่แผ่ไปยังฟันกราม

ไซนัสอักเสบจากไวรัสเฉียบพลัน หรือที่เรียกว่าการติดเชื้อไซนัส เกิดขึ้นเมื่อไวรัสได้จับตัวกันเพิ่มจำนวนในช่องไซนัสบนใบหน้า ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากไวรัสชนิดเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคหวัด และสามารถแพร่กระจายในลักษณะเดียวกัน โดยผ่านการไอหรือจามของผู้ติดเชื้อ เป็นอาการที่พบได้มากในผู้ใหญ่มากกว่า เพราะเด็กมีไซนัสขนาดเล็กและไวรัสยังไม่พัฒนา

●      ฟันผุ

ฟันผุ ถือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันกราม ซึ่งเกิดจากเศษอาหารที่ติดอยู่บนผิวฟันตลอดทั้งวัน ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียได้ และกรดต่างๆ ที่ถูกสร้างมาจากแบคทีเรียนั้น ก็จะสร้างรูขึ้นในฟัน ซึ่งเมื่อปล่อยไปนานๆ ฟันกรามอาจจะเกิดผุได้ เนื่องจากฟันกรามเป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่ทำความสะอาดได้ยาก ทำให้ถือเป็นส่วนที่เกิดฟันผุได้ง่ายเป็นพิเศษ โดยการรักษาอาการฟันผุสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น การใช้ที่อุดฟัน ครอบฟัน หรือรักษารากฟัน

●      ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

ขากรรไกรผิดรูปเป็นอีกปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปวดฟันกรามได้ โดยอาจเกิดจากการถูกระแทกอย่างรุนแรง หรือลักษณะนิสัยการเคี้ยวอาหารข้างเดียว ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรทำงานไม่สมดุลกัน หรืออาจเกิดจากการที่นอนกัดฟัน ที่เกิดจากความเครียดได้

หากข้อต่อจากรรไกรมีความผิดปกติ จะส่งผลให้ปวดบริเวณกรามได้ ซึ่งวิธีแก้ปวดฟันกราม คือ การลดใช้งานขากรรไกรให้ได้มากที่สุด โดยพยายามอย่าเคี้ยวอาหารข้างเดียว ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และหาอะไรผ่อนคลายเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดที่จะทำให้นอนกัดฟัน

●      นอนกัดฟัน

อาการของการนอนกัดฟัน คือ การขบฟันแน่นๆ หรือการถูไปมาซ้ำๆ ระหว่างฟันบนกับฟันล่างในขณะกำลังหลับ ซึ่งสามารถส่งผลให้ปวดฟันกรามได้ เพราะการกระทบกระเทือนของฟัน ทำให้ข้อต่อขากรรไกรเสื่อม หรือเกิดปัญหาฟันสึก และฟันแตก รวมถึง ปัญหาฟันเกิดรอยร้าว ซึ่งสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บแบบเฉียบพลัน และอาจมีอาการปวดมากยิ่งขึ้น หากรอยร้าวลึกเข้าไปที่ฟัน โดยปัญหานี้สามารถแก้ไขด้วยการผ่อนคลาย ลดความเครียด หรือในช่วงแรกอาจจะใส่เฝือกสบฟัน เพื่อป้องกันฟันแตกไปก่อน

●      โรคปริทันต์อักเสบ

โรคปริทันต์อักเสบ หรืออาจเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบ คือ การติดเชื้อที่เหงือก ซึ่งอาจส่งผลต่อฟันกราม และทำให้เวลาเคี้ยวอาหารรู้สึกเจ็บมาก ยิ่งถ้าอักเสบใกล้ๆ ฟันคุดจะยิ่งเจ็บปวดมากขึ้น ซึ่งอาการเหล่านี้ทำลายเนื้อเยื่อในเหงือกได้ อีกทั้งยังทำลายกระดูกที่อยู่ในฟันอีกด้วย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้สูญเสียฟันได้ และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคเบาหวานอีกด้วย

ในการรักษา แพทย์จะทำการรักษาโดย ขูดคราบหินปูนและขจัดแบคทีเรียออก กินยาปฏิชีวนะ หรือถ้าในกรณีที่มีอาการรุนแรง เกิดการอักเสบ อาจจะต้องได้รับการผ่าตัด

อาการอื่นๆ ที่มีร่วมกับอาการปวดฟันกราม

อาการอื่นๆ ที่มีร่วมกับอาการปวดฟันกราม

เนื่องจากฟันกรามอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับอวัยวะอื่นๆ ในช่องปาก สำหรับผู้ที่มีอาการปวดฟันกราม อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

หากเกิดอาการที่กล่าวไปข้างต้น ควรรีบพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้อง เช่น อาการไข้อาจเป็นตัวบ่งบอกถึงภาวะติดเชื้อได้

วิธีแก้ที่ควรรู้ เมื่อมีอาการปวดฟันกรามควรทำอย่างไร?

วิธีแก้ที่ควรรู้ เมื่อมีอาการปวดฟันกรามควรทำอย่างไร?

เมื่อได้ทราบสาเหตุของอาการปวดฟันกรามเรียบร้อยแล้ว หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่า วิธีแก้ปวดฟันกรามมีอะไรบ้าง หรือต้องทำยังไงบ้างถึงจะหาย โดยแนวทางในการดูแลตัวเองเบื้องต้น และแนวทางที่ทันตแพทย์จะใช้เพื่อรักษาอาการดังกล่าว มีดังนี้

การดูแลตัวเอง

การดูแลตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยวิธีแก้การปวดฟันกรามด้วยตัวเอง สามารถทำได้ ดังนี้

วิธีนี้เป็นวิธีบรรเทาอาการชั่วคราวเท่านั้น เหมาะสำหรับคนที่กำลังรอนัดหมายจากทันตแพทย์ ซึ่งจะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาในระยะยาว ดังนั้น ควรทำการติดต่อเพื่อรักษากับทันตแพทย์โดยเร็วที่สุด เมื่อมีอาการปวดฟันกราม

วิธีรักษาทางการแพทย์

หลังจากที่ดูแลตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการปวดในเบื้องต้นไปแล้ว พอถึงวันนัดหมาย ทันตแพทย์จะทำการตรวจ และเลือกวิธีการรักษาอาการปวดฟันกรามให้เหมาะสมกับความรุนแรงของแต่ละบุคคล นอกจากการรักษาด้วยทันตแพทย์แล้ว ยังมีแนวทางในการรักษาที่เป็นแพทย์ทางเลือกอีกด้วย ดังนี้

แนวทางการรักษาโดยทันตแพทย์

แนวทางการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก

อาการปวดฟันกรามป้องกันได้ง่ายๆ

อาการปวดฟันกรามป้องกันได้ง่ายๆ

รู้ไหมว่าจริงๆ แล้ว สุขภาพช่องปากนั้นเชื่อมโยงกับสุขภาพโดยรวมของหัวใจด้วยเช่นกัน เพราะสุขภาพฟันที่ไม่ดีทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ซึ่งอาจส่งผลต่อลิ้นหัวใจ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจให้สูงขึ้นตามไปด้วย โดยวิธีป้องกันอาการปวดฟันกรามสามารถทำได้ ดังนี้

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับอาการปวดฟันกราม

คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับอาการปวดฟันกราม

หลายๆ คนอาจมีคำถามเกี่ยวกับอาการปวดฟันกราม ซึ่งในส่วนนี้ได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อย พร้อมคำตอบไว้ ดังนี้

เมื่อปวดฟันกรามทำไงให้หาย

เบื้องต้นสามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันกรามได้ หรือกินยา หรือพบทันตแพทย์เพื่อเช็กสุขภาพฟัน หากมีอาการรุนแรง ค่อยทำการรักษาอย่างเหมาะสม

เหงือกบวม ปวดฟันกรามกินยาอะไรได้บ้าง

สามารถกินยาที่ไม่ใช่ยาตามทันตแพทย์สั่งให้ได้ เช่น ไอบูโพรเฟน หรืออะเซตามิโนเฟน เพื่อลดอาการปวดและอาการอักเสบ แต่หากยังไม่หายให้พบทันตแพทย์โดยเร็ว

เมื่อมีอาการปวดฟันกรามต้องทำอย่างไร

หากมีอาการปวดฟันกรามควรพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาหารือ และตรวจเช็กสาเหตุของการปวดฟันกราม เพื่อให้รักษาได้ตรงจุด

ฟันกรามเป็นฟันซี่ใหญ่ที่อยู่ด้านในบริเวณขากรรไกร ซึ่งมีหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร เมื่อปวดฟันกรามก็จะทำให้เคี้ยวอาหารได้ลำบาก ซึ่งสาเหตุก็เกิดได้จากหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นฟันผุ นอนกัดฟัน ฟันคุด หรือฟันเป็นฝีหนอง รวมถึงกระดูกขากรรไกรผิดรูป ก็ทำให้เกิดอาการปวดฟันกรามได้เช่นกัน เมื่อมีอาการปวดควรเข้าปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป