ฟันซ้อน หรือฟันเก เป็นปัญหาใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม โดยบางคนอาจคิดว่าอาการเหล่านี้ไม่เป็นปัญหาอะไรมากนัก แต่รู้หรือไม่ว่าถ้าหากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก และฟันได้ ดังนั้น ในบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับฟันซ้อน ฟันเก กันก่อนว่าคืออะไร? และสามารถส่งผลเสียอย่างไรได้บ้าง พร้อมแนะนำทางเลือกในการรักษาว่าจะต้องจัดฟันอย่างเดียวหรือไม่? และต้องถอนฟันด้วยหรือเปล่า? โดยจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!

ฟันซ้อนเกิดจากอะไร

ฟันซ้อน ฟันเกคืออะไร 

“ฟันซ้อน” คือ ฟันที่มีลักษณะการเรียงตัวซ้อนกันกับฟันซี่อื่น หรือขึ้นผิดตามแนวเหงือก ซึ่งสามารถขึ้นได้ทั้งด้านใน และด้านนอก ส่วน “ฟันเก” คือ ฟันที่มีลักษณะการขึ้นที่บิดเบี้ยว หรือเอียงขึ้นมา ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กับฟันซ้อน เพราะว่าฟันซ้อนเป็นฟันที่มีการงอกที่ผิดปกติอยู่แล้ว พอฟันไม่ได้รูป ฟันที่เกิดขึ้นอาจจะถูกเบียดให้เอนมา ทำให้ฟันเบี้ยวไปทางใดทางหนึ่งได้ และส่งให้เกิดฟันเก ถ้าหากปล่อยเอาไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกัดเคี้ยวอาหารได้ไม่สะดวก ปัญหาเลือดออกตามไรฟัน หรือปัญหากลิ่นปาก ซึ่งหากใครรู้สึกว่าตัวเองมีลักษณะที่คล้ายกับอาการเหล่านี้ ให้รีบพบทันตแพทย์เพื่อเร่งแก้ไข ก่อนที่จะเกิดปัญหาที่ใหญ่กว่านั้นตามมา 

โดยทางคลินิกทันตกรรม PLUS Dental Clinic สามารถให้คำปรึกษาก่อนทำการรักษาได้ ถ้าผู้อ่าน หรือใครที่กำลังมีปัญหานี้อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้ไขฟันซ้อน ฟันเก นั้นสามารถเข้าไปดูได้ที่ Help me PLUS

ฟันซ้อนเกิดจากอะไรนะ? เปิดสาเหตุหลักๆ ที่อาจทำให้ฟันซ้อน ฟันเก

ฟันซ้อน สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดจากพันธุกรรม พฤติกรรมจากวัยเยาว์ หรืออุปนิสัยต่างๆ เป็นต้น โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฟันซ้อน และฟันเก มีดังนี้

พันธุกรรม

ลักษณะทางพันธุกรรม อาจทำให้ฟันกรามของเรามีขนาดเล็ก และทำให้มีพื้นที่ไม่เพียงพอกับฟันที่กำลังจะขึ้น จึงทำให้ฟันเกิดการซ้อนทับกัน บางคนอาจมีจำนวนฟันเกิน ซึ่งก็สามารถสร้างแรงกดบนฟันหน้ามากเกินไป ทำให้เกิดการซ้อนทับกันได้ หรือการที่ขนาดฟันที่โตเกินไป ก็อาจทำให้ฟันที่ขึ้นนั้นไม่มีพื้นที่บนเหงือกเพียงพอในการขึ้นมา ทำให้ฟันพยายามบิดไปมาเพื่อให้ขึ้นได้ทั้งซี่ ถ้าหากมีปัญหาในลักษณะดังกล่าว ควรพบทันตแพทย์ เพื่อปรึกษาวิธีในการแก้ไข และทำการรักษาให้ถูกต้อง

พฤติกรรมในวัยเด็ก

พฤติกรรมในวัยเด็กอย่างการดูดนิ้วหัวแม่มือ สามารถทำให้เกิดฟันซ้อน หรือฟันเกได้ เพราะว่าการดูดนิ้วนั้นจะทำให้เกิดแรงกดบริเวณเหงือก และฟัน ซึ่งถ้าหากยังเด็กอยู่มากจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าฟันแท้ขึ้นแล้ว การดูดนิ้วหัวแม่มืออาจทำให้การเรียงตัวของฟันมีปัญหาได้ และยังทำให้เกิดปัญหาการเจริญเติบโตของกราม เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลังคาปากได้อีกด้วย นอกจากนั้นยังมีเรื่องของการใช้ขวดนมเป็นเวลานาน หรือการใช้จุกนมหลอก ซึ่งควรให้เด็กๆ หยุดการใช้จุกนมหลอกก่อนอายุ 3 ขวบ เพราะถ้าหากเกินจากนั้นอาจะจะทำให้กรามมีปัญหาได้ 

ถ้าหากไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมในวัยเด็ก อาจจะเกิดได้จากการทำงานภายในร่างกาย เช่น ฟันน้ำนมหลุดก่อนกำหนด อาจทำให้ฟันแท้ขึ้นมาผิดตำแหน่ง หรือการที่ฟันน้ำนมนั้นอยู่ในปากนานเกินไปไม่หลุดออก จะทำให้ฟันแท้จำเป็นต้องแทรกขึ้นมา ซึ่งส่งผลให้เกิดฟันซ้อนเกได้ และสำหรับผู้ใหญ่นั้นการใช้แรงเคี้ยว หรือกัดมากๆ ในเวลารับประทานอาหารแข็งๆ ก็สามารถทำให้เกิดฟันซ้อนเกได้เช่นกัน

นอกจากสาเหตุที่มาจากพันธุกรรม และพฤติกรรมในวัยเด็กแล้ว ยังมีอีกหลายสาเหตุที่อาจทำให้ฟันซ้อน ฟันเกได้เช่นกัน เช่น เกิดอุบัติเหตุจนฟันได้รับการกระทบกระเทือนจนเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจทำให้ขากรรไกรผิดรูป ทำให้ฟันผิดปกติไป เป็นต้น

ปัญหาฟันซ้อนส่งผลต่อสุขภาพช่องปากมากกว่าที่คิด

ปัญหาฟันซ้อนส่งผลต่อสุขภาพช่องปากมากกว่าที่คิด

ปัญหาฟันซ้อน ฟันเก สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากได้มากกว่าที่คิด และไม่ใช่แค่เพียงสุขภาพช่องปากเท่านั้น แต่รวมไปถึงสุขภาพด้านจิตใจ หรือความมั่นใจได้ด้วย โดยผลกระทบหลักๆ ที่พบได้ มีดังนี้

ถึงแม้ว่าสำหรับบางคนการที่ฟันซ้อน หรือฟันเก อาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปอาจทำให้สุขภาพช่องปาก และฟันแย่ลงได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นถ้าเกิดอยู่ในเกณฑ์ที่มีปัญหาฟันซ้อนเก ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางการรักษา หรือแก้ไข และป้องกันให้ถูกวิธี เพื่อสุขภาพช่องปาก และฟันที่แข็งแรง

แนวทางแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ที่ช่วยให้คุณยิ้มได้อย่างมั่นใจ

แนวทางแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ที่ช่วยให้คุณยิ้มได้อย่างมั่นใจ

ถ้าหากฟันซ้อน หรือฟันเกนั้นไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก และฟันมากนัก ก็อาจจะไม่ต้องทำการแก้ไข แต่ถ้าอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้เสียความมั่นใจ เช่น ในเรื่องการทำงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ เป็นต้น ทันตแพทย์จะแนะนำทางเลือกในการแก้ไขฟันให้มีความเหมาะสมกับฟันของคนไข้ในแต่ละกรณี โดยวิธีการแก้ไขนั้นมีทั้งหมด ดังนี้

การจัดฟัน (Braces)

การจัดฟัน เป็นการแก้ไขด้วยการใช้เครื่องมือทางทันตกรรมอย่างแบร็กเก็ต ยางจัดฟัน และลวดสำหรับจัดฟัน เพื่อปรับตำแหน่งฟัน และแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก โดยเครื่องมือเหล่านี้จะทำการออกแรงกดบนฟันต่อเนื่อง แรงดึง และแรงดันที่สม่ำเสมอกัน ซึ่งจะช่วยให้ฟันเคลื่อนไปในตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีว่ามีปัญหามากน้อยแค่ไหน เช่น ในกรณีการจัดฟันซ้อนเกมีเขี้ยว อาจจะใช้เวลานานกว่าปกติ เป็นต้น  และอัตราความสำเร็จของแต่ละคนนั้นก็ต่างกันออกไป เช่น อายุ พฤติกรรมการดูแลช่องปาก หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์มากน้อยแค่ไหน โดยปกติแล้วผู้ใหญ่จะใช้เวลาจัดฟันนานกว่าเด็ก และวัยรุ่น เพราะว่าฟันมีความแข็งแรงมากกว่านั่นเอง

จัดฟันแบบใส (Invisalign)

การจัดฟันแบบใส เป็นอีกวิธีการแก้ไขปัญหาฟันซ้อน และฟันเกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการจัดฟันที่ดูเป็นธรรมชาติ และดูไม่ออกว่าจัดฟันอยู่ แถมยังถอดเข้า-ออกได้ง่าย แต่ถ้าหากมีปัญหาฟันซ้อนเกที่รุนแรงมาก เช่น ฟันซ้อนด้านใน ฟันซ้อนด้านบน ฟันซ้อนด้านล่าง หรือฟันซ้อนบนเหงือก การจัดฟันแบบใสอาจจะไม่เหมาะนัก เพราะว่าเหมาะกับฟันที่ซ้อน หรือเกเพียงเล็กน้อย โดยการจัดฟันแบบนี้จะเห็นผลที่มีประสิทธิภาพ และชัดเจนได้นั้นควรใส่เป็นเวลา 20-22 ชั่วโมงต่อวัน และต้องถอดตอนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหาย

ทำวีเนียร์ (Veneers)

การทำวีเนียร์ คือ การเคลือบผิวฟันโดยใช้วัสดุที่มีลักษณะคล้ายเคลือบฟัน เพื่อช่วยแก้ไขความผิดปกติของฟัน และเฉดสีตรงกับฟันธรรมชาติ แต่ถ้าหากมีอาการฟันซ้อนรุนแรงมาก วีเนียร์อาจจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมเท่าไหร่นัก เพราะการทำวีเนียร์ไม่ได้ช่วยขยับตำแหน่งของฟัน หรือกราม แต่จะช่วยปรับปรุงลักษณะของฟันเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจทำควรปรึกษาทันตแพทย์ พร้อมศึกษาก่อนว่าวีเนียร์มีกี่แบบ แต่ละแบบเป็นอย่างไร และเหมาะกับลักษณะของฟันเราหรือไม่

ตกแต่งฟัน (Sculpting)

การตกแต่งฟันนั้นจะทำโดยการใช้เลเซอร์ หรือสว่าน เพื่อแก้การซ้อนทับกันของฟัน และช่วยเพิ่มช่องว่างระหว่างฟันที่เหมาะสมกัน เช่น เมื่อฟันซ้อน หรือฟันเกเบียดกันการตกแต่งฟัน โดยจะช่วยทำให้ไม่ส่งผลแย่กว่าเดิม ซึ่งวิธีนี้นั้นเหมาะสำหรับฟันซ้อนบน หรือฟันซ้อนล่าง เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และจะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะวิธีนี้อาจส่งผลทำให้ฟันอ่อนแอลงได้

การถอนฟันร่วมกับการผ่าตัด

ในกรณีที่มีการซ้อนทับกันของฟันที่รุนแรงมาก ทันตแพทย์อาจจะต้องทำการถอนฟัน และแนะนำขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อปรับกราม โดยปกติแล้วจะใช้วิธีนี้ก็ต่อเมื่อวิธีที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนั้นไม่ได้ผล เมื่อการจัดฟันไม่เพียงพอต่อการรักษา วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด โดยการผ่าตัดทางทันตกรรมนั้นจะช่วยแก้ไขกระดูกขากรรไกร เนื้อเยื่อเหงือก และโครงสร้างอื่นๆ ของปากได้ แถมยังช่วยแก้ปัญหาฟันซ้อน และฟันเกอีกด้วย 

เมื่อรักษาฟันซ้อน ฟันเกดีต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร

เมื่อรักษาฟันซ้อน ฟันเกดีต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร

เมื่อทุกคนได้ทราบถึงปัญหาของฟันซ้อน และฟันเกที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากกันไปแล้ว ดังนั้น ต่อไปเราจะไปดูกันว่า ถ้าหากได้รับการรักษาที่เหมาะสมแล้วจะเกิดผลดีกับสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง ดังนี้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปัญหาฟันซ้อน

สำหรับคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปัญหาฟันซ้อน หรือฟันเกนั้นมีทั้งหมด ดังนี้

ฟันซ้อน ฟันเก อยากจัดฟันต้องถอนฟันหรือเปล่า?

การถอนฟันของผู้ที่มีปัญหาฟันซ้อน และฟันเกที่ต้องการจัดฟันนั้น​​ขึ้นอยู่กับสภาพฟันของแต่ละคน และการวินิจฉัยของทันตแพทย์ ซึ่งอาจจะต้องถอนฟัน หรือไม่ต้องถอนฟันก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนก่อน เพราะเมื่อต้องแก้ไขฟัน จะได้มีพื้นที่ในการเคลื่อนฟัน โดยเฉพาะกรณีที่ฟันซ้อนเกกันรุนแรงมาก

ฟันซ้อน ฟันเก ไม่จัดฟันได้ไหม?

ถ้าหากมีปัญหาฟันซ้อนเก วิธีที่ง่ายที่สุดในการรักษา หรือแก้ไขฟันซ้อน คือ การจัดฟัน แต่ถ้าหากการซ้อนทับของฟันมีเพียงเล็กน้อย ทันตแพทย์อาจจะแนะนำวิธีการแปรงฟัน หรือการใช้ไหมขัดฟันในการทำความสะอาดฟันให้ถูกต้องแทน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพช่องปากอื่นๆ ที่จะตามมา

ฟันซ้อน ฟันเก คือ ฟันที่มีลักษณะการเรียงตัวที่ผิดปกติ โดยฟันจะงอกขึ้นมาในบริเวณที่ผิดปกติ เช่น ฟันซ้อนด้านใน และด้านนอก ซึ่งปัญหาฟันเก หรือฟันซ้อนนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม การดูดนิ้ว หรือการดูดจุกนมหลอกในวัยเด็ก เป็นต้น และสำหรับใครที่มีปัญหาดังกล่าว ควรเข้าปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อทำการรักษา และแก้ไขอย่างตรงจุด เพราะปัญหาฟันซ้อนสามารถส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก และฟันที่อาจตามมาในอนาคตได้