ฟันงุ้ม เป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่จัดฟันเสร็จแล้ว แต่ก็อาจพบได้ในกลุ่มผู้ที่ไม่เคยจัดฟันมาก่อนได้เช่นกัน โดยปัญหานี้ถือว่าเป็นปัญหากวนใจของคนที่ฟันงุ้มอยู่แล้ว หรือคนที่จัดฟันแล้วฟันงุ้มเป็นอย่างมาก เพราะว่าการที่มีฟันงุ้มอาจทำให้ทุกคนไม่มั่นใจในรอยยิ้มของตัวเอง และอาจส่งผลกระทบอื่นๆ หรือปัญหาสุขภาพฟันตามมาได้ ดังนั้น ในบทความนี้จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับปัญหาฟันงุ้มกันมากขึ้น โดยสาเหตุเกิดจากอะไร มีอาการเป็นอย่างไร และทันตกรรมแก้ฟันงุ้มมีอะไรบ้าง รวมไปถึงปัญหายอดฮิตว่าถ้าจัดฟันมาแล้วฟันงุ้มจะแก้ไขอย่างไรดี ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย!

สาเหตุที่ฟันงุ้ม ฟันสบลึก ส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน

สาเหตุที่ฟันงุ้ม ฟันสบลึก ส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน

ฟันงุ้ม หรือเรียกอีกอย่างว่า ฟันสบลึก คือ การที่ฟันหน้าบนตกลงมาคร่อมอยู่ฟันหน้าล่างมากเกินไปเมื่อปิดกรามลงมา ถือเป็นปัญหาฟันที่เรียงตัวกันผิดปกติ และส่งผลไปถึงปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น แผลบนเพดานปาก และฟันสึกกร่อน รวมถึงปัญหาการกิน การนอน การพูด รวมถึงการหายใจได้ ซึ่งในบางกรณีสามารถรักษา และปรับเปลี่ยนได้ด้วยการกายภาพบำบัด หรือบางกรณีอาจจะต้องทำการผ่าตัดแก้ไขฟัน โดยปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ที่จัดฟันแล้วฟันงุ้ม และผู้ที่ไม่เคยจัดฟันมาก่อน ซึ่งอาการฟันงุ้มเกิดจากสาเหตุต่างๆ  ดังนี้

ลักษณะของผู้ที่มีอาการฟันงุ้ม

ลักษณะของผู้ที่มีอาการฟันงุ้ม

โดยปกติอาการฟันงุ้มไม่ได้เห็นชัดเจนมาก เพราะเมื่อดูเผินๆ เวลายิ้มก็จะดูฟันเรียงกันปกติ หากไม่สังเกตให้ดีก็อาจจะมองไม่ค่อยออก ทำให้ส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวนั้นก็อาการรุนแรงขึ้นแล้ว ซึ่งทุกคนสามารถสังเกตอาการของตัวเองได้ว่ากำลังมีปัญหาฟันงุ้มอยู่หรือไม่ ด้วยลักษณะอาการต่างๆ ดังนี้ 

หากไม่มั่นใจ การเข้าพับทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบและปรึกษาก็ถือว่าเป็นอีกวิธีที่ดีเลยทีเดียว  

ฟันงุ้ม รักษาแบบไหนดี

ฟันงุ้ม รักษาแบบไหนดี

การแก้ฟันงุ้มจะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป เพราะมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ไม่ว่าจะเป็นอายุ พันธุกรรม หรือปัญหาฟันอื่นๆ ที่อาจเป็นร่วมกัน รวมถึงผู้ที่มีปัญหาฟันงุ้มจากสาเหตุที่กล่าวไปข้างต้น เบื้องต้นทันตแพทย์จะตรวจฟัน และเอ็กซ์เรย์เพื่อดูตำแหน่งการเรียงตัวของฟันบนและฟันล่าง ขากรรไกร รวมถึงตำแหน่งกรามบนและล่างที่สัมพันธ์กับฐานของกะโหลกศีรษะ นอกจากนั้นจะต้องตรวจสอบประวัติปัญหาการใช้ฟันต่างๆ เช่น การกัด หรือปัญหาตำแหน่งของฟันก่อน แล้วค่อยวินิจฉัยว่าควรใช้วิธีการรักษาใดที่เหมาะสม ซึ่งวิธีรักษาที่มักใช้ ได้แก่

การรักษาฟันงุ้มไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกแต่ยังช่วยเรื่องสุขภาพช่องปากของคุณอีกด้วย หลังการรักษาฟันก็จะทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเหงือกและฟันผุได้ แถมยังสามารถใช้ฟันในการบดเคี้ยวได้สะดวกมากขึ้นด้วย กลับกัน หากไม่ทำการรักษา อาจทำให้ปวดฟัน มีปัญหาในการรับประทานอาหาร ฟันสบกันมากจนฟันเริ่มสึก หรือลุกลามไปจนเสียหายถึงรากฟัน และเสี่ยงฟันล้มตามมาได้ 

ทั้งนี้ การรักษาอาการฟันงุ้มในผู้ใหญ่กับวัยรุ่นนั้นไม่ได้ต่างกันมากนัก แต่ผู้ใหญ่นั้นจะฟื้นตัวได้ยากกว่า เพราะอัตราการหมุนเวียนของเนื้อเยื่อนั้นลดลง และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูก

เคยจัดฟันมาก่อนแล้วเป็นฟันงุ้มต้องทำอย่างไร

เคยจัดฟันมาก่อนแล้วเป็นฟันงุ้มต้องทำอย่างไร

นอกจากเรื่องพฤติกรรมการกิน หรือโครงสร้างขากรรไกรที่ทำให้มีโอกาสเป็นฟันงุ้มแล้ว การจัดฟันแล้วฟันงุ้มก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากการถอนฟันก่อนจัดฟันมากเกินไป หรือเกิดจากการบีบรัดของอุปกรณ์การจัดฟันตอนทันตแพทย์ทำการติดตั้งเครื่องมือ หรือเกิดจากคนไข้ไม่ไปพบทันตแพทย์ทุกๆ เดือนตามนัด 

แล้วจัดฟันแล้วฟันงุ้มแก้ได้ไหม? ตอบตรงนี้เลยว่าได้แน่นอน โดยสามารถแก้ไขได้หลายวิธี ดังนี้

วิธีดูแลสุขภาพฟันไม่ให้กลับมาฟันงุ้มอีก

วิธีดูแลสุขภาพฟันไม่ให้กลับมาฟันงุ้มอีก

การดูแลสุขภาพฟันไม่ให้กลับมางุ้มอีกหลังจากจัดฟันแก้ฟันงุ้ม หรือแก้ฟันงุ้มด้วยวิธีต่างๆ ถือว่าเป็นการช่วยลดผลกระทบต่างๆ จากปัญหาฟันงุ้ม และเพื่อสุขภาพฟันที่ดี ดังนั้น ทุกคนจึงต้องหมั่นดูแลช่องปาก และฟันให้ดี ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

สรุปอาการฟันงุ้ม เป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอายุ พันธุกรรม หรือสาเหตุต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น รวมถึงการจัดฟันแล้วฟันงุ้ม โดยปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีทางทันตกกรรม เช่น ถอนฟัน ผ่าตัด หรือจัดฟัน และผู้ที่จัดฟันแล้วฟันงุ้มก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟันรอบสอง ทำวีเนียร์ ทำหมุดจัดฟัน หรือผ่าตัดได้ ซึ่งวิธีการรักษาก็จะแตกต่างกันไปในสภาพฟันของแต่ละคน ดังนั้น ถ้าหากพบว่าตัวเองมีอาการฟันงุ้ม และปัญหานี้กำลังกวนใจอยู่ ควรรีบพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อวางโปรแกรมการรักษาที่เหมาะสมกับฟันของตัว และแก้ไขให้ฟันกลับมาใช้งานได้ดีเช่นเดิม