เมื่อไหร่ที่ต้องถอน….ฟัน? จำเป็นไหม?

หนึ่งในวิธีการรักษาสุขภาพช่องปาก ที่รวดเร็วที่สุด คือ การถอนฟัน ซึ่งคือการดึงฟันออกจากเบ้าฟัน ทันตแพทย์จะพิจารณาถอนฟัน เมื่อวิธีการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผล

หลักเกณฑ์พิจารณา ถอนฟัน

1.ฟันผุลึกถึงชั้นประสาทฟัน

2.รากฟันอักเสบแบบรุนแรง

3.ฟันบิ่นหรือแตก จนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

4.ฟันที่ขึ้นผิดรูปและอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดเป็นฟันคุดได้

5.ขาดที่ว่างในการคลายตัว เพื่อเตรียมการจัดฟัน

การถอนฟันสามารถทำได้โดย

1.  การถอนฟัน โดยใช้  Elevator คือ เทคนิคการโยกฟันให้หลวม ส่วนใหญ่ใช้ในการถอนฟันกรามซีกที่สาม ทั้งบนและล่าง ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถถอนรากฟันออกมาได้ด้วย

2. การถอนฟันแบบใช้คีมคีบฟัน ที่เรียกว่า Forceps ดึงฟันออกมา ซึ่งเป็นวิถีการถอนฟันที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอะไร

3. การผ่าตัด เพื่อนำฟันออกมา จะใช้ในกรณี ลักษณะของรูปฟันมีความเสียหาย ลึกลงไปจนกระทั่งถึงเหงือก หรือฟันไม่ได้โผล่พ้นเหงือกขึ้นมo

ในขั้นตอนถอนฟัน ทันตแพทย์จะให้ยาชา เพื่อไม่ให้คนไข้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด หรือในคนไข้บางรายที่มีความวิตกกังวลมาก ทันตแพทย์จะพิจารณาใช้ยาบางอย่างร่วมด้วย เพื่อให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายมาขึ้นในระหว่างถอนฟัน นอกจากนี้ในขณะถอนฟัน หากคนไข้รู้สึกถึงความเจ็บปวด ต้องรีบแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบทันที




หลังจากการถอนฟัน คนไข้จะได้รับยาแก้ปวด พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลแผลจากการถอนฟัน ดังนี้

1.กัดผ้าก็อชสะอาด เพื่อห้ามเลือดเป็นเวลาประมาณ 30 – 45 นาที

2.หลีกเลี่ยงการแปรงฟันในบริเวณที่ใกล้จุดถอนฟัน รวมทั้งยังไม่ควรบ้วนปาก และสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถอนฟัน

3.ประคบอุ่น เพื่อลดอาการปวดบวม

4.บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ เมื่อพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้ว

5.งดอาหารรสจัดเป็นระยะเวลา 2-3 วัน หรือจนกว่าแผลที่เกิดจากการถอนฟันจะหายสนิท

หลังจากการถอนฟันประมาณ 1 สัปดาห์ หากยังมีอาการปวดฟัน หรือมีอาการบวม ร่วมด้วยกับอาการความผิดปกติอื่นๆ ให้รีบติดต่อแพทย์ทันที

หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยอาจพบอาการข้างเคียงดังต่อไปนี้

1.อาการบวมของแผลถอนฟัน ที่เกิดจากการผ่าตัด ซึ่งสามารถพบได้ หลังผ่าตัดไปแล้ว 2-3 วัน ดังนั้นผู้ป่วยควรใช้น้ำแข็ง หรือผ้าเย็นประคบข้างแก้มทันทีหลังผ่าตัด อาการบวมจะลดลง

2.อ้าปากได้อย่างจำกัด ค่อยให้นิ้วมือกดที่ลิ้น และค่อยอ้าปาก ร่วมกับใช้นำอุ่นประคบคบแก้ม และอมน้ำเกลืออุ่น อาการก็จะค่อยไปดีขึ้น

3.รอยฟกช้ำ ซึ่งพบได้ในผู้ป่วยสูงอายุ

4.การติดเชื้อ ซึ่งมักเกิดในคนไข้ที่มีภูมิต้านทานน้อย

หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยอาจพบอาการข้างเคียงดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ ผลกระทบที่เกิดจากการถอนฟัน อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อฟันข้างเคียง เนื่องจากการเกิดข่องว่าระหว่างฟัน หรือ ปัญหาการบดเคี้ยว หรือการเรียงตัวของฟัน ซึ่งผลกระทบดังกล่าว สามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยเทคนิคทางทันตกรรม เช่น

1.สะพานฟัน

2.รากฟันเทียม

3.แผงฟันปลอม เป็นต้น

สะพานฟัน

รากฟันเทียม

แผงฟันปลอม

สะพานฟัน

รากฟันเทียม

แผงฟันปลอม

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟัน

เมื่อสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่ง ฟันซี่ข้าง ๆ จะค่อย ๆ ล้ม หรือเคลื่อนไปยังช่องว่าง ซึ่งทำให้อาจเกิดผลกระทบต่อการบดเคี้ยวอาหาร การเรียงตัวของฟัน และการสบฟัน เป็นต้น ผลกระทบดังกล่าวสามารถหลีกเลี่ยงโดยการทำทันตกรรมที่เหมาะสมดังนี้

1.สะพานฟัน

2.รากฟันเทียม

3.แผงฟันปลอม

การแทนที่ช่องว่างที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีดังกล่าวด้านบน จะลดปัญหาการล้มและเคลื่อนตัวของฟัน ปัญหาการบดเคี้ยว และปัญหาการสบของฟันอย่างมีประสิทธิภาพ

 

สนใจปรึกษา หรือตรวจสุขภาพช่องปากที่ PLUS Dental Clinic ได้แล้ววันนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.plusdentalclinic.com/ 

จัดฟัน ดัดฟัน ผ่าฟันคุด จัดฟันครั้งแรก จัดฟันแบบใส รีเทนเนอร์ ไว้ใจเรา
PLUS Dental Clinic คลินิกทันตกรรม มาตรฐานระดับสากล ในราคาที่คุณประทับใจ พร้อมปรึกษาจัดฟันฟรี  ที่ 
www.plusdentalclinic.com/booking

จัดฟัน ดัดฟัน ผ่าฟันคุด จัดฟันครั้งแรก
จัดฟันแบบใส รีเทนเนอร์ ไว้ใจเรา
PLUS Dental Clinic คลินิกทันตกรรม
มาตรฐานระดับสากล ในราคาที่คุณ
ประทับใจ พร้อมปรึกษาจัดฟันฟรี  ที่ 
www.plusdentalclinic.com/booking