การนอนกัดฟันเป็นภัยเงียบที่เกิดขึ้นเวลานอนหลับโดยผู้ที่เป็นมักไม่รู้สึกตัว ถือว่าเป็นอาการของคนนอนหลับแบบผิดปกติรูปแบบหนึ่ง โดยระบบบดเคี้ยวจะทำงานนอกหน้าที่ระหว่างนอนหลับ ทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวหดตัวผิดปกติ จึงมีลักษณะการกัด บด หรือขบฟันแน่นๆ อาจส่งเสียงบ้าง แต่ส่วนมากมักไม่ส่งเสียงดัง ทำให้ไม่มีใครได้ยิน อาการนี้เหมือนจะธรรมดา แต่จริงๆ ก่อให้เกิดผลเสียได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น
• ปวดเมื่อยบริเวณใบหน้า กราม แก้ม หน้าหู หลังตื่นนอน
• อ้าปากไม่ได้ ขากรรไกรขยับลำบาก
• เสียวฟันเวลาดื่มเครื่องดื่มร้อน เย็น หรือของหวาน
• ฟันสึก ฟันแตก คอฟันสึกเป็นร่อง เมื่อฟันสึกมากทำให้ใบหน้าสั้นลงไม่สวยงาม
• ฟันบิ่น ฟันร้าว ฟันแตก จนทะลุถึงโพรงประสาทฟัน อาจทำให้เคี้ยวอาหารไม่ได้
• กระดูกกรามขยายใหญ่เป็นปุ่มนูน หรือกล้ามเนื้อบริเวณแก้มขยายใหญ่จนหน้าเหลี่ยม
เฝือกสบฟันคือ เครื่องมือทันตกรรมอย่างหนึ่งที่ใช้ใส่ลงในช่องปาก คั่นระหว่างขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง โดยทันตแพทย์จะทำการปรับแต่งเครื่องมือชนิดนี้ให้เข้ากับช่องปากของคนไข้เพื่อรักษาการสบฟัน บรรเทาอาการความเจ็บปวดของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ป้องกันฟันสึกในคนไข้ที่มีการกัดฟันระหว่างนอนหลับ เหมาะกับผู้ที่นอนกัดฟัน ผู้ที่มีฟันสบกันไม่สม่ำเสมอ ผู้ที่มีอาการฟันโยกจากการสบฟันโดยฟันมีการตอบสนองผิดปกติต่อแรงกดหรือเคาะ หรือผู้มีอาการปวดศีรษะ ปวดข้อต่อขากรรไกรบ่อย ซึ่งเครื่องมือนี้สามารถถอดออกมานำไปล้างทำความสะอาดได้ตามปกติ ไม่ได้มีการติดแน่นถาวร
ซึ่งลักษณะของเฝือกสบฟันมีอยู่หลายแบบและทำจากวัสดุหลายประเภท
การรักษาอาการนอนกัดฟันโดยใช้เฝือกจัดฟันนั้น จะช่วยกระจายแรงกดของฟันอย่างเหมาะสม ช่วยกล้ามเนื้อที่ใช้ในการบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรให้ลดลง อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยในการป้องกันฟันสึกฟันแตกจากการนอนกัดฟันได้ โดยทันตแพทย์มักนิยมใช้เฝือกสบฟันหลักๆ 2 ประเภท คือ เฝือกสบฟันชนิดอ่อนและชนิดแข็ง
มีลักษณะนุ่มและน้ำหนักเบา ทำจากวัสดุนิ่ม เช่น ยางนิ่ม ซิลิโคน สามารถยืดหยุ่นได้ดี โดยข้อดีคือสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว น้ำหนักเบา แต่มีข้อจำกัดคือมีอายุสั้น ใช้ไม่ได้นาน ไม่แข็งแรงทนทานเท่าชนิดแข็ง จึงอาจต้องเปลี่ยนบ่อย และหากคุณภาพไม่ดีก็อาจทำให้นอนกัดฟันมากกว่าเดิมได้ ทั้งนี้ เฝือกสบฟันชนิดอ่อนเหมาะกับ
• ผู้ที่อายุน้อย ขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่
• ผู้ที่มีอาการปวดขากรรไกรหนักมาก โดยใช้ชั่วคราวระหว่างรอทำเฝือกสบฟันชนิดแข็ง
• ผู้ที่ต้องการปกป้องฟันจากคลอรีนในการว่ายน้ำ
มีลักษณะเป็นเฝือกใส่ฟันที่ทำจากพลาสติกแบบแข็ง หรือส่วนผสมที่มีอะคริลิค ทำให้มีความแข็งแรงทนทานมาก โดยข้อดีของเฝือกสบฟันชนิดแข็งคือความทนทาน มีอายุการใช้งานนานที่ยาวนานกว่าชนิดอ่อน และทำให้การสบฟันมีความเสถียรคงตัว รวมไปถึงกล้ามเนื้อผ่อนคลายได้ดีกว่า ส่วนข้อจำกัดของเฝือกชนิดนี้ คือไม่เหมาะกับผู้ที่มีอายุน้อย เพราะอาจไปขัดขวางการเจริญเติบโตของขากรรไกร และใช้ระยะเวลาในการทำนาน ทั้งนี้เฝือกสบฟันชนิดแข็งเหมาะกับ
• ผู้ที่มีการสบฟันอย่างรุนแรงจนปวดเมื่อยขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
• ผู้ที่มีการสบฟันในเวลากลางวันนอกเหนือจากเวลาบดเคี้ยวอาหาร
• ผู้ที่มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร อย่างข้อต่อขากรรไกรเสื่อม เวลาอ้าหรือหุบปากมีการติดขัด
เฝือกสบฟันทั้งสองประเภทนั้นมักมีให้เลือก 3 แบบ ได้แก่ แบบกึ่งสำเร็จรูป แบบสำเร็จรูป และแบบสั่งทำขึ้นเฉพาะ สองแบบแรกนั้นมีความสะดวกรวดเร็ว แต่แบบสั่งทำขึ้นเฉพาะถือว่าประสิทธิภาพดีที่สุด เพราะผลิตขึ้นจากการพิมพ์ฟันเพื่อให้พอดีกับช่องปากของคนไข้โดยเฉพาะ ทั้งนี้ เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน แนะนำให้เลือกรักษากับคลินิกทันตกรรมที่ใส่ใจในคุณภาพทุกขั้นตอนอย่าง PLUS Dental Clinic ซึ่งให้บริการเฝือกสบฟันหลากหลายรูปแบบ รวมถึงให้บริการทำเฝือกสบฟันแบบสั่งทำขึ้นเฉพาะ มั่นใจได้เลยว่าจะได้เฝือกสบฟันที่พอดีกับช่องปาก ช่วยแก้ปัญหาได้จริง และแก้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เฝือกสบฟันมีหลักการทำงานเป็นการช่วยกระจายแรงสบฟันอย่างเหมาะสม ไม่ให้ลงแรงมากเกินไป นอกจากนี้ยังช่วยลดแรงของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกร อีกทั้งยังสามารถปกป้องฟันไม่ให้มีความสึกมากกว่าเดิมในตอนที่นอนกัดฟัน โดยขั้นตอนการทำเฝือกสบฟัน มีดังนี้
1. ทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปาก ประเมินจุดเจ็บปวดของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว
2. ตรวจประเมินกล้ามเนื้อบดเคี้ยวข้อต่อขากรรไกรและการสบฟัน
3. บันทึกตำแหน่งขากรรไกรที่เหมาะสมต่อการสร้างเครื่องมือเฝือกสบฟัน
4. พิมพ์ฟันเป็นแบบจำลองฟันเพื่อสร้างเฝือกสบฟัน
ส่วนตัวของเฝือกสบฟันนั้น มีวิธีใช้งานดังนี้
1. ควรใส่ตอนกลางคืนหรือตามเวลาที่ทันตแพทย์กำหนดไว้เท่านั้น
2. ใส่เฝือกเข้าไปที่ฟันให้ถูกตำแหน่งกดเบาๆ ให้ลงล็อค
3. 2-3 วันแรกอาจเกิดความรำคาญ น้ำลายไหล แต่ให้ใส่ประจำเพื่อปรับตัว
4. หลังจากตื่นนอนให้ถอดเฝือกสบฟันออกแล้วตรวจสอบฟันที่มีการสบกัน
5. จัดเก็บเฝือกสบฟันในภาชนะที่มีความชื้นตลอดเวลา
6. เข้าพบทันตแพทย์โดยนำเฝือกใส่ฟันมาเพื่อปรับแก้เฝือกเป็นระยะ
การใส่เฝือกสบฟันนั้นมีข้อควรรู้หลายอย่าง บทความนี้ได้รวบรวมข้อควรรู้ที่สำคัญมาไว้ให้แล้ว ดังนี้
เมื่อใช้เฝือกสบฟันแล้ว ควรดูแลทำความสะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนานเต็มที่ ในส่วนของขั้นตอนทำความสะอาดและดูแลรักษา มีดังนี้
• ล้างเฝือกสบฟันทุกครั้งหลังใช้งาน
• ใช้แปรงสีฟันแบบนิ่มความสะอาดให้ทั่วทั้งด้านในและด้านนอก
• จัดเก็บในภาชนะที่มีความชื้นตลอดเวลาเมื่อไม่ใช้งาน
• แช่น้ำปิดฝาในภาชนะที่สะอาดและควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน
• ระวังอย่านั่งหรือนอนทับเพราะอาจเกิดการแตกหักเสียหายได้
ปกติคนไข้ที่ใส่เฝือกสบฟันมักจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 6-18 เดือน ขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้แต่ละคน โดยในแต่ละวันจะมีการสวมใส่เฝือกสบฟันเป็นระยะเวลาประมาณ 8-10 ชั่วโมง หรือสวมใส่ในช่วงเวลานอน หรือสวมใส่ทั้งวันได้ ขึ้นอยู่กับการแนะนำของทันตแพทย์
ในขณะสวมใส่เฝือกสบฟันไม่ควรใช้ฟันบดเคี้ยวหรือรับประทานอาหาร และไม่ควรกัดเล่น ไม่ควรกัดเฝือกใส่ฟันให้เข้าที่เอง ควรใช้นิ้วมือขยับเฝือกสบฟันให้ลงล็อคเพื่อเป็นการรักษาและถนอมให้เฝือกสบฟันมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
หลายคนอาจยังสงสัยว่าเฝือกสบฟันราคาเท่าไร ควรทำที่ไหนดี บทความนี้ขอแนะนำ PLUS Dental Clinic คลินิกที่ครบครันทุกเรื่องทันตกรรม ดูแลโดยทีมทันตแพทย์เฉพาะทางที่มากประสบการณ์ พร้อมให้บริการอย่างเต็มที่ โดยราคาของเฝือกสบฟัน(หรือ Night Guard)นั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท
• เฝือกสบฟันชนิดแข็ง (Hard splint) ราคาอยู่ที่ 6,000-8,000 บาท
• เฝือกสบฟันชนิดอ่อน (Soft splint) ราคาอยู่ที่ 4,000-5,000 บาท
ขั้นตอนการรับบริการกับทาง PLUS Dental Clinic
1. ตรวจสอบสภาพฟัน เพื่อเตรียมทำ Night Guard
2. เลือกชนิดของเฝือกสบฟันที่เข้ากับเรา ตามคำแนะนำของทันตแพทย์
3. พิมพ์ฟัน เพื่อทำ Night Guard ที่พอดีกับฟันของคนไข้
4. พบทันตแพทย์เพื่อใส่เครื่องมือ
ระยะเวลารับบริการประมาณ 15-30 นาที
สามารถรอรับ Night Guard หลังพิมพ์ฟันได้ภายใน 7-14 วัน