ทำไมต้องผ่าตัดเหงือก รีวิวทุกขั้นตอนผ่าตัดเหงือก ทำแล้วเจ็บไหม มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง

ทำไมต้องผ่าตัดเหงือก รีวิวทุกขั้นตอนผ่าตัดเหงือก ทำแล้วเจ็บไหม มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง

ทำไมต้องผ่าตัดเหงือก รีวิวทุกขั้นตอนผ่าตัดเหงือก ทำแล้วเจ็บไหม มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง
ทำไมต้องผ่าตัดเหงือก รีวิวทุกขั้นตอนผ่าตัดเหงือก ทำแล้วเจ็บไหม มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง
สำหรับผู้ที่มีปัญหาเหงือกเยอะ เหงือกหนา เหงือกปูดไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่มั่นใจเวลายิ้มเห็นฟัน หรือส่งผลทำให้มีปัญหาเรื่องการพูดในชีวิตประจำวัน การผ่าตัดเหงือกเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้กลับมายิ้มได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่ามันคืออะไร ช่วยดูแลปัญหาสุขภาพปากและฟันได้อย่างไร ใครบ้างที่ควรทำ หรือค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเหงือกราคาเท่าไหร่ เจ็บไหม ถือเป็นผ่าตัดใหญ่หรือเปล่า และคำถามอื่นๆ อีกมากมาย บทความนี้จะมาอธิบายทุกเรื่อง และตอบทุกข้อสงสัยต่างๆ เหล่านั้นให้
การตัดเหงือกคืออะไร

การตัดเหงือกคืออะไร

การตัดเหงือก คือ การผ่านำเหงือกส่วนเกินออก เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหายิ้มแล้วเห็นเหงือกเยอะเกินไป ผู้ที่มีเนื้อเหงือกเยอะจนพูดไม่ชัด หรือมีโรคในช่องปากบางประการ เช่น มีรอยผุหรือรอยฟันแตกใต้ขอบเหงือกที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคปริทันต์
ทำไมถึงต้องตัดเหงือก ทำแล้วช่วยเรื่องสุขภาพช่องปากและฟันอย่างไร

ทำไมถึงต้องตัดเหงือก ทำแล้วช่วยเรื่องสุขภาพช่องปากและฟันอย่างไร

ทำไมจึงต้องผ่าตัดเหงือก? ผ่าเหงือกแล้วช่วยเรื่องอะไรบ้าง? การผ่าเหงือกนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องเหงือก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเหงือกเยอะเกินไป เหงือกหนาเกินไป เหงือกงอกมาคลุมฟัน เหงือกล้น หรือกระดูกขอบเหงือกปูด โดยสามารถแบ่งความจำเป็น หรือความต้องการในการผ่าเหงือก ออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

ด้านการรักษาช่องปากและฟัน

เป็นการผ่าตัดเหงือกส่วนเกินหรือปรับลดระดับเหงือกเพื่อการรักษา หรือแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพปากและฟันโดยเฉพาะ เช่น
• แก้ไขปัญหาผู้ป่วยมีเหงือกเยอะเกินไปจนทำความสะอาดยาก ส่งผลต่อสุขภาพฟัน
• แก้ไขปัญหาฟันผุใต้ขอบเหงือก
• แก้ไขปัญหาเหงือกคลุมตัวฟันมากจนพูดไม่สะดวก พูดไม่ชัด หรือทำให้รับประทานอาหารลำบาก
• แก้ไขปัญหาเหงือกน้อยเกินไปหรือเหงือกขยับตัวขึ้นสูงกว่าปกติอันเนื่องมาจากเหงือกร่น ส่งผลให้คราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียเข้าใกล้รากฟันง่ายขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้เศษอาหารเข้าไปติดในช่องว่างระหว่างเหงือกและฟันได้ง่าย กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียได้ โดยทั้งหมดนั้นจะกลายเป็นปัญหาฟันผุ หรือลุกลามไปถึงสูญเสียฟันได้หากปล่อยทิ้งไว้
• ทำร่วมกับการทำทันตกรรมเพื่อการรักษาอื่นๆ เช่น การรักษารากฟัน การอุดฟัน
โดยแม้ว่าเป็นวิธีที่ช่วยให้มีสุขภาพฟันดีขึ้นได้ แต่ผู้ป่วยก็ต้องหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของฟันให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

ด้านการศัลยกรรมเพื่อความงาม

เป็นทำการศัลยกรรมเหงือกเพื่อความสวยงาม และสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยสามารถยิ้มเห็นฟันได้อย่างมีความสุข
• แก้ปัญหาเหงือกหนา เหงือกยื่นออกมาเยอะเกินจนฟันดูสั้น หรือเหงือกไม่สมมาตร การตัดเหงือกจะช่วยให้ฟันดูยาวขึ้นได้ เหงือกเรียงเสมอกัน ฟันเรียงสวยตามธรรมชาติเวลายิ้ม
• มักทำคู่กับการทำปากกระจับ หรือทำปากบาง เพื่อให้ปากและฟันดูเข้ากันได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งวิธีการผ่าเหงือกลักษณะนี้ มักทำร่วมกับการทำวีเนียร์ หรือ การกรอกระดูกฟัน และการครอบฟัน
ซึ่งวิธีการผ่าเหงือกลักษณะนี้ มักทำร่วมกับการทำวีเนียร์ หรือ การกรอกระดูกฟัน และการครอบฟัน
ประเภทของการตัดเหงือก

ประเภทของการตัดเหงือก

ปัจจุบัน มี 2 รูปแบบที่นิยมใช้ คือ การผ่าตัดขอบเหงือก และการเลเซอร์ตัดเหงือก

การผ่าตัดขอบเหงือก

การผ่าตัดขอบเหงือก เป็นการผ่าตัดด้วยใบมีด ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยใช้วิธีการตัดแต่งตามจุดที่ออกแบบเอาไว้ เมื่อเสร็จเรียบร้อย จะต้องเย็บเพื่อปิดปากแผล วิธีนี้ต้องใช้ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และใช้เวลาพักฟื้นตัวนานกว่าวิธีเลเซอร์

การเลเซอร์ตัดเหงือก

การเลเซอร์ตัดเหงือกนั้น ทันตแพทย์จะเป็นผู้ออกแบบทรงเหงือก และใช้เลเซอร์ในการตัดส่วนเหงือกเฉพาะที่ ตัวแผลจะมีขนาดเล็ก มีเลือดออกน้อยกว่าวิธีใช้ใบมีด ไม่ต้องเย็บแผล โดยใช้เวลาตัดเพียงซี่ละ 1-2 นาทีเท่านั้น และสามารถพักฟื้นตัวได้รวดเร็ว ไม่ต้องหยุดงาน ทำให้วิธีเลเซอร์ได้รับความนิยมมากกว่าแบบใบมีดนั่นเอง
การตัดเหงือกนั้นมักทำร่วมกับการกรอกระดูกฟัน บางครั้งเรียกว่า “ตัดเหงือกกรอกระดูกฟัน” โดยการกรอกระดูกฟันเป็นการกรอขอบกระดูกบางส่วนที่อาจนูนมามากเกินควร หรือสูงเกินไป ให้บางลง รองรับกับเหงือกส่วนที่ผ่าตัดถือเป็นการรักษาที่ให้ผลยาวนานถาวร เพราะเหงือกจะไม่งอกกลับมาใหม่ ขณะที่หากไม่ได้กรอกระดูกฟันร่วมด้วย เหงือกที่ตัดไปก็จะยังมีโอกาสงอกกลับมาใหม่นั่นเอง

ขั้นตอนการผ่าตัดเหงือก

หลายคนเห็นคำว่าผ่าตัดอาจรู้สึกกังวลว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่หรือไม่ น่ากลัวหรือเปล่า ขอบอกว่าในปัจจุบันการผ่าเหงือกทำกันอย่างแพร่หลาย และวิธีก็ไม่ได้น่ากลัวแต่อย่างใด ลองมาดูขั้นตอนการผ่าคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ดังนี้
1.ทันตแพทย์วินิจฉัยอาการเบื้องต้น
2.ฉีดยาชาเฉพาะที่ และรอยาชาออกฤทธิ์ประมาณ 20 – 40 นาที
3.กำหนดจุดที่จะตัดเหงือก
4.เมื่อยาชาออกฤทธิ์ จะเริ่มทำการผ่าตัดตามแต่ละวิธีที่เลือกใช้ เช่น ใบมีด หรือเครื่องเลเซอร์ เพื่อตัดเหงือกส่วนเกินออก
5.เย็บปิดปากแผลหลังจากผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว
6.เสร็จสิ้นขั้นตอน โดยปกติจะใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมงเท่านั้น
ทั้งนี้ มีข้อควรระวังคือในการรักษาจำเป็นต้องใช้ยาชา ดังนั้น หากใครแพ้ยาชาจะต้องแจ้งกับทันตแพทย์ก่อนเสมอ
:เตรียมความพร้อมก่อนตัดเหงือก

เตรียมความพร้อมก่อนตัดเหงือก

การเตรียมความพร้อมก่อนตัดเหงือก มีอะไรบ้าง?
• ตรวจสุขภาพฟันอย่างละเอียด
• หากมีหินปูนเกาะบริเวณฟัน ควรให้แพทย์จะขูดหินปูนก่อน โดยการขูดหินปูนควรทำก่อนการตัดเหงือกอย่างน้อย 2 สัปดาห์
• เอกซเรย์ฟันเพื่อประเมินระดับกระดูก
• เข้ารับการประเมินก่อนการผ่าตัดกับทันตแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา และเลือกวิธีการตัดเหงือกที่เหมาะสมกับตนเอง ตามคำแนะนำของแพทย์

วิธีดูแลตัวเองหลังตัดเหงือก

ปกติแล้วแผลหลังตัดเหงือกจะใช้เวลาหายสนิทประมาณ 2-4 อาทิตย์ โดยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ เพื่อให้แผลฟื้นตัวได้รวดเร็ว
• ในช่วงแรกของการผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็ง ให้ทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊กแทน
• สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ให้แปรงเบาๆ บริเวณที่ใกล้กับแผลผ่าตัด หรือใช้คอตตอนบัตชุบน้ำเช็ดบริเวณแผลผ่าตัด
• รับประทานยาที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการดื้อยา
• หากมีอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด สามารถรับประทานยาแก้ปวดจำพวกพาราเซตามอลได้เพื่อบรรเทาอาการปวด
• หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดร้อน หรือของหมักดอง เพื่อป้องกันแผลอักเสบ
• งดสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
• หากดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ ก็อาจเสี่ยงเกิดอาการเกิดอาการติดเชื้อส่งผลให้เหงือกอักเสบด้วย

ตัดเหงือกราคาเท่าไหร่ และตัดเหงือกที่ไหนดี

สำหรับผู้ที่ต้องการตัดเหงือก ควรเลือกที่ไหนดี? เราขอแนะนำ PLUS Dental Clinic คลินิกทันตกรรมที่มีคุณภาพ พร้อมด้วยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลตลอดการรักษา โดยการตัดเหงือกราคาจะเริ่มต้นอยู่ที่ 2,500 – 3,500 บาทต่อซี่ ทั้งนี้ราคาค่ารักษาจะขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์
ถาม-ตอบ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตัดเหงือก

ถาม-ตอบ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตัดเหงือก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตัดเหงือก ทาง PLUS Dental Clinic รวบรวมคำตอบไว้ที่นี่เรียบร้อยแล้ว

ตัดเหงือกเจ็บไหม

โดยปกติจะไม่รู้สึกเจ็บ เนื่องจากในระหว่างการผ่าตัด ทีมทันตแพทย์จะฉีดยาชาให้ก่อน ทำให้บรรเทาอาการเจ็บได้มาก หรืออาจไม่เจ็บเลย แต่หลังจากผ่าตัดเสร็จ หากรู้สึกเจ็บ สามารถทานยา หรือประคบบริเวณเหงือก เพื่อบรรเทาอาการปวดได้

ตัดเหงือกกี่วันหาย

แผลผ่าตัดเหงือกสามารถหายเป็นปกติได้ภายใน 2 – 4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดเหงือก

จัดฟันอยู่ ตัดเหงือกได้ไหม

สามารถทำได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ตามแต่ละกรณี หากแพทย์เห็นว่าควรทำควบคู่ไปกับการจัดฟันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นก็สามารถทำได้ กรณีดังกล่าวเช่น แพทย์อาจพิจารณาว่าควรตัดเหงือกออกบางส่วน เพื่อให้มีพื้นที่ในการจัดฟันมากขึ้น หรือควรตัดเหงือกเพื่อรักษาปัญหาในช่องปากบางอย่างก่อนจัดฟัน เป็นต้น

ตัดเหงือกมีข้อเสียอะไรไหม

สำหรับผู้ที่แพ้ยาชา อาจไม่สะดวกในการผ่าตัดเหงือก เนื่องจากการผ่าตัดประเภทนี้จะใช้ยาชาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าไม่สามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ กรณีที่แพ้ยาชา จะมีทีมแพทย์คอยดูแลอาการอย่างใกล้ชิดขณะผ่าตัด

ตัดเหงือกไปแล้ว เหงือกจะงอกกลับมาใหม่ได้ไหม

เหงือกที่ถูกผ่าตัดออกไปแล้วสามารถงอกกลับมาใหม่ได้ หากไม่ได้กรอกระดูกฟัน แต่หากผ่าเหงือกพร้อมกรอกระดูกฟันแล้วก็จะไม่งอกขึ้นมาใหม่
รู้ไปแล้วว่าการตัดเหงือกคืออะไร ราคาเท่าไหร่ เจ็บไหม ฯลฯ โดยสรุปแล้ว เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาเรื่องเหงือกใหญ่ เหงือกหนา เหงือกเกิน ได้กลับมามีความมั่นใจที่จะยิ้มแบบเห็นฟันได้อีกครั้ง รวมทั้งช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเหงือกได้กลับมามีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ซึ่งวิธีการนั้นก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ไม่ได้เป็นการผ่าตัดใหญ่ แผลหายยาก และต้องเจ็บตัวเป็นอาทิตย์อย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะจริงๆ ใช้เวลาฟื้นตัวไม่นานเลย เพียงแค่ผู้ป่วยต้องหมั่นปฏิบัติตามวิธีการดูแลหลังตัดเหงือกตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด นั่นเอง